ไบโอพลาสติกจากการสกัดสารเพคตินจากเปลือกสีขาวของส้มโอ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยะอร พิมพิลา, ชฎาภรณ์ มีทางดี, อชิรญา เสาร์แก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรวัฒน์ วโรภาษ, นวมินทร์ วงค์ไชย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

พลาสติกเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ครัวเรือนต่างๆ รวมถึงของกินและของใช้ในยุคปัจจุบัน ล้วนทำจากพลาสติกทั้งสิ้น จึงทำให้พลาสติกกลายเป็นขยะที่มีปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันและเป็นวัสดุที่ถูกทิ้งในทุกๆ วัน ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 12 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้จัดทำจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากเปลือกส้มโอที่เหลือทิ้งจากการเกษตรและปัญหาขยะจากพลาสติกมีจำนวนมาก เปลือกส้มโอเป็นวัตถุดิบเหลือใช้เพราะในการบริโภคส้มโอจะบริโภคเฉพาะเนื้อ ขณะที่เปลือกซึ่งเป็นส่วนที่ไม่นิยมบริโภคและมีปริมาณค่อนข้างมากจะถูกทิ้งไป และเนื่องจากพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายเองได้ จึงนำเปลือกส้มโอที่เป็นวัสดุเหลือจากการเกษตรมาใช้ในการสกัดเพคตินมาพัฒนาเป็นไบโอพลาสติก คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำนวัตกรรมไบโอพลาสติกจากการสกัดสารเพคตินจากเปลือกสีขาวของส้มโอขึ้นมาเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกจำนวนมากที่ย่อยสลายได้ยากและเกิดมลพิษในขั้นตอนของการกำจัดขยะพลาสติก วัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อสร้างไบโอพลาสติกจากการสกัดสารเพคตินจากเปลือกสีขาวของส้มโอ 2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการละลายน้ำ ความยืดหยุ่น และการย่อยสลาย ของไบโอพลาสติกจากการสกัดสารเพคตินจากเปลือกสีขาวของส้มโอ