ไบโอพลาสติกจากเปลือกกล้วยน้ำว้า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นภาวรรณ วงค์กา, กัญญารัตน์ ลลิตกาญจน์, ณัฐธิดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เอนก ไชยบุตร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ไบโอพลาสติก หรือพลาสติกชีวภาพ เป็นพลาสติกที่มีคุณบัติเหมือนพลาสติกจากปิโตรเลียมทั่วไป ต่างกันตรงที่ไบพลาสติกสามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกับพลาสติกจากปิโตรเลียม โดยไบโอพลาสติกมักผลิตจากแป้ง หรือเซลลูโลสในพืช ซึ่งมีปริมาณมาก สามารถหาได้ง่ายในธรรมชาติ

จากการสำรวจ พบว่ากล้วยเป็นพืชที่เพาะปลูกมากในประเทศไทย โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า ชาวบ้านมักจะนำกล้วยไปแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งทำให้มีขยะที่เหลือจากการแปรรูปอยู่จำนวนมากคือ เปลือกกล้วย

จากการศึกษาพบว่าในเปลือกกล้วยมีเซลลูโลสอยู่ ซึ่งเซลลูโลสในเปลือกกล้วยสามารถนำไปผลิตเป็นไบโอพลาสติกได้ คณะผู้จัดทำจึงคิดทำโครงงานไบโอพลาสติกจากเปลือกกล้วยน้ำว้า เนื่องจากกล้วยน้ำว้ามีการเพาะปลูกในประเทศมากกว่ากล้วยชนิดอื่น และโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความคุ้มค่าในการผลิตไบโอพลาสติกจากเปลือกกล้วยน้ำว้า โดยวัดจากต้นทุนการผลิต CMC ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตไบโอพลาสติกในปริมาณที่เท่ากัน และเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเชิงกลของไบโอพลาสติกจากเปลือกกล้วยน้ำว้า ว่าสามารถนำมาใช้งานได้จริงหรือไม่ โดยการนำเปลือกกล้วยน้ำว้าไปสกัดเซลลูโลส จากนั้นนำไปผลิตเป็น CMC และตรวจสอบหาปริมาณ นำไปวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการผลิต จากนั้นจึงนำ CMC ไปขึ้นรูปเป็นไบโอพลาสติก จะตรวจสอบคุณภาพเชิงกลว่าสามารถนำไปใช้การได้จริงหรือไม่