การเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นใยธรรมชาติในการบำบัดน้ำเสีย โดยสารพอลิเมอร์แบบ cationic polymer และสารลดแรงตึงผิว SDS
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มรุรี มิตพะมา, สุกัญญา จันทร์วัฒนดำรง, ภคพร จันทร์มาลา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำผึ้ง สุพรมอินทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย เป็นโรงเรียนประจำ ทำให้มีน้ำเสียจากการใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น น้ำจากหอพักของนักเรียนและคุณครู รวมถึงน้ำทิ้งจากโรงอาหาร ซึ่งประกอบไปด้วย ไขมัน น้ำมัน แป้ง น้ำตาล เป็นส่วนใหญ่ เมื่อทิ้งน้ำเหล่านี้ไหลลงสู่บ่อน้ำเสียของโรงเรียนจะทำให้น้ำเน่าเสียและเกิดกลิ่นเหม็น รบกวนนักเรียนและครูที่อาศัยอยู่ที่หอพัก รวมทั้งชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง
ดังนั้น คณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันสาเหตุการเกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งกระบวนการดูดซับเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถลดปริมาณของน้ำมันก่อนที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำ โดยคณะผู้จัดจะใช้เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากพืช เช่น ใยเปลือกข้าวโพด ใยชานอ้อย ฝ้าย ซึ่งพืชเหล่านี้สามารถหาได้ในท้องถิ่น อีกทั้งพืชเหล่านี้เป็นเซลลูโลสมีคุณสมบัติในการดูดซับหรือจับกับไขมันได้ดี ซึ่งเราจะดัดแปลงเส้นใยเซลลูโลส โดยใช้สารเคมีประเภทพอลิเมอร์ชนิดประจุบวก แบบ cationic polymer และใช้สารลดแรงตึงผิว SDS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเส้นใยเซลลูโลส ในขั้นตอนนี้จะช่วยดูดซับไขมันที่ปะปนมากับน้ำเสีย ในขั้นตอนต่อไปจะกรองน้ำด้วยแบบกรองน้ำอย่างง่าย โดยใช้กรวด ทราย และถ่านกัมมันต์ โดยกรวดหยาบและกรวดละเอียดใช้กรองเศษอาหารที่มีขนาดใหญ่ ทรายหยาบและทรายละเอียด ใช้กรองสิ่งสกปรก สนิมเหล็ก ตะกอน ส่วนถ่านกัมมันต์ใช้กำจัด สี กลิ่น ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์ ตะกอน สารกำจัดศัตรูพืช ผงซักฟอก ซึ่งในขั้นตอนนี้จะกรองน้ำให้มีคุณภาพดีขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำและยังรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงไว้