การศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของอนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ต่อการยับยั้งเชื้อรา Aspergillus sp. บนผลิตภัณฑ์จักสานจากกระจูด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กุลนันทน์ สุขสม, จิดาภา คงบุญ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฉัตร ผลนาค

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม (โครงการ วมว.-ม.ทักษิณ)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ต่อการยับยั้งเชื้อรา Aspergillus sp. บนผลิตภัณฑ์จักสานจากกระจูด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จักสานจากกระจูดที่ปราศจากเชื้อรา โดยทำการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ด้วยวิธี wet chemical route ที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยกรรมวิธีสีเขียว (green method) ที่ใช้ซิงค์อะซีเตรทไดไฮเดรต (Zn(CH2COO)2•2H2O) ที่มวล 1.0975 g (0.05 M), 2.195 g (0.1 M) และ4.390 g (0.2 M) และใช้ไคโตซาน (low MW-4000) ที่มวล 1.25 g และ2.5 g เป็นสารยึดเกาะ (capping agent) การตรวจสอบสัณฐานทางวิทยาของโครงสร้างผงที่สังเคราะห์ได้มีลักษณะรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งทุกตัวอย่างแสดงค่าพีคของ Zn เมื่อตรวจสอบด้วยเทคนิค XRD พบว่าทุกสารตัวอย่างแสดงเฟสของไคโตซานและซิงค์ออกไซด์ที่มีค่าพีคซ้อนทับกัน และจากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FTIR พบว่า ZnO NPs มีช่วงสเปกตรัมที่ 1013.715 cm-1 และไคโตซานมีช่วงสเปกตรัมที่ 1023.542 cm-1 โดยทุกสารตัวอย่าง มี ZnO NPs เป็นส่วนประกอบมีสมบัติดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ 200 - 400 nm ได้เด่นชัด เมื่อนำตัวอย่างที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา Aspergillus Niger บนผลิตภัณฑ์จักสานจากกระจูดพบว่าสามารถยับยั้งเชื้อราบนผลิตภัณฑ์จักสานจากกระจูด ได้ดีกว่าสารเคมีที่ใช้เคลือบตามท้องตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ