การศึกษาผลจากสารสกัดเปลือกมังคุดที่มีผลต่อการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus และ Candida parapsilosis

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณหทัย วีรผาติวัฒน์, ยศกร เกิดผล, อภิชญา ขวัญสุด

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศรีสุดา ปัณณานุสรณ์, วรวัฒน์ สุราฤทธิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการศึกษาการปนเปื้อนเชื้อที่ก่อโรคแต่ละชนิดที่พบในการสารวจ จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรค ผิวหนังทั้งหมดมีร้อยละ 42.90 ที่พบเชื้อ Staphylococcus aureus (จิตรา ตะเภาพงษ์ และคณะ, 2558) ในขั้นตอนรักษาต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะจาพวก Clindamycin, Erythromycin (เชิดชัย สุนทรภาส, 2561) และจากการสารวจพบว่า โรงพยาบาล 25 แห่ง ในประเทศจีน, ฮ่องกง, อินเดีย, สิงคโปร,์ ไต้หวัน และไทย มีร้อยละ 12.10 ของผู้ป่วย Candidiasis ทั้งหมดที่พบการปนเปื้อนเชื้อ Candida parapsilosis (B.H. Tan et al., 2015) มังคุด เป็นผลไม้ที่มีการส่งออกร้อยละ 70 จาก ผลผลิตทั้งหมดของประเทศไทย (ธนาคารกรุงเทพ, 2565) ซึ่งที่ผ่านมาได้ประสบปัญหาการจัดการ ขยะผลผลิตทางการเกษตร จากช่วงฤดูกาลของมังคุดมีผลผลิตจานวนมาก ทาให้มีขยะที่เกิดหลังจาก การบริโภคและส่วนของมังคุดที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ประกอบการจึงกาจัดส่วนดังกล่าว ส่งผลให้มีมังคุด เหลือทิ้งเป็นจานวนมาก และในปัจจุบัน เกษตรกร ได้รับผลกระทบจากพ่อค้าคนกลางทาให้ราคาของ มังคุด ตกต่า (ไทยพีบีเอส, 2566) โดยสารสกัดธรรมชาติจากเปลือกมังคุด มีสารแอลฟาแมงโกสติน ที่ มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุในการเกิดหนอง และกระตุ้นการ เกิดสิว (มณฑล เลิศคณาวนิชกุล และคณะ, 2561) สารสกัดธรรมชาติจากเปลือกมังคุด มี สารประกอบฟีนอล (Phenolic Compound) ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอล, แทนนิน และ โพลิฟีนอล ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อในกลุ่ม Candida (ปรมาภรณ์ จิ๋วพัฒนกุล แก้วมณ,ี 2564) ผู้จัดทา โครงงานจึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับ วิธีการสกัดสารจากเปลือกมังคุดที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุด โดยใช้ตัวทาละลายที่แตกต่างกันได้แก่ น้า, เมทานอล และเอทานอล เมื่อได้สารสกัดเปลือก มังคุด นาไปวิเคราะห์สารประกอบฟีนอลในกลุ่ม ฟลาโวนอล, แทนนนิ และโพลิฟีนอล ด้วยวิธี AlCl3- NaNO2-NaOH assay, HCl-vanillin assay และFolin-Ciocalteu assay ตามลาดับ จากนั้นนาไป ศึกษาหาความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิดด้วย Resazurin test แล้ววิเคราะห์เพื่อหาค่า Minimum Inhibitory Concentration (MIC), Minimum Bactericidal Concentration (MBC)