การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในภาคใต้ประเทศไทยในภาวะที่เกิดปรากฏการณ์ El Niño
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนากร เพชรบัว, ธนภัทร ปริชาตินนท์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พัชรา พงศ์มานะวุฒิ, อาภาศรี ชุ่มชื่น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปรากฏการณ์ El Niño ถือเป็นหนึ่งปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อโลกในด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก โดยสามารถทำให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นในบริเวณทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องมาจากการเปลี่ยนไปของอุณหภูมิ อัตราเร็วลม และปริมาณน้ำฝน จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น คณะผู้จัดทำจึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดปรากฏการณ์ El Niño ที่มีผลต่ออัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกใน 14 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่กระทรวงสาธารณะสุขในการวางแผนรับมือไข้เลือดออก โดยการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออกแบบ Real time ในอนาคตโดยในการศึกษาจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกจากกระทรวงสาธารณสุขมาประกอบกับข้อมูล สภาพอากาศในภาวะ El Niño ประกอบด้วยปริมาณน้ำฝน(Rain fall) อุณหภูมิ(Temperature) อัตราเร็วลม(Wind speed) อุณหภูมิสูงสุด(Max Temperature) และอุณหภูมิต่ำสุด(Min Temperature) ของแต่ละเดือน จากปีพุทธศักราช 2551 จนถึงปีพุทธศักราช 2565 ในพื้นที่ศึกษาบริเวณ 14 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย โดยนำมาหาความสัมพันธ์โดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งเป็นศาสตร์ทางคณิตศาสตร์และสถิติขั้นสูงสำหรับนำข้อมูลที่มีมาคำนวณหาโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้นในอนาคต