การพัฒนาแผ่นครอบความร้อนสำหรับการประยุกต์ใช้ในการหุงต้มและปิ้งย่าง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ติณณถพ อ่อนสุระทุม, ปรานต์ บุญชัยศรี, ศรัณย์ อินทรีย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วิริทธิ์พล วิเศษฐี, เสาวรจนี จันทวงค์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากโครงงานเรื่องการพัฒนาแผ่นครอบความร้อนสำหรับการประยุกต์ใช้ในการหุงต้มและปิ้งย่าง ได้ออกแบบการทดลองเป็น 4 ศึกษาการนำความร้อนจากดินเหนียวชนิดต่าง ศึกษาการนำความร้อนจากวัสดุเหลือทิ้งชนิดต่าง ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมดินเหนียวกับวัสดุธรรมชาติ ศึกษาการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งได้แนวคิดมาจากจะเห็นได้ว่าก๊าซหุงต้มนั้นดีกว่าเชื้อเพลิงจากไม้มากๆ แต่แน่นอนว่ามันต้องมีข้อเสีย ซึ้งข้อเสียของก๊าซหุงต้มมีดังนี้ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หากเฉลี่ยค่าใช้จ่ายออกมาแล้ว อาจพบว่าการทำอาหารด้วยเตาแก๊สนั้นสิ้นเปลืองมากกว่าเตาไฟฟ้า แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทและระยะเวลาของการทำอาหารด้วยบางครัวเรือนมีการเติมแก๊ซบ่อยมาก เนื่องจากเวลาที่ทำการหุงต้มในครัวเรือนเปลวไฟที่ออกมาจากเตาแก๊ซ กระจายความร้อนออกด้านข้าง ทำให้เปลวไฟไม่ได้กระจายความร้อนไปที่หม้อหุงต้มทั้งหมด ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองแก๊ซไปในตัว หรือแม้แต่เวลาที่ ไปรับประทานเนื้อยาง เวลาที่รับประทานไปด้วยปิ้งย้างไปด้วยจะมีเปลวไฟหรือมีความร้อนกระทบที่ใบหน้าหรือตามร่างกายทำให้ต้องทานไปด้วยพร้อมกับอุณหภภูมิของร่างกายสูงขึ้นไปด้วยทำให้เกิดความรำคาญ หรือทานปิ้งยางอื่นๆก็เช่นกันโดยเฉพาะผู้ประกอบการจะยิ่งสินค้าค่าแก๊ซเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาวัสดุที่มีตามธรรมชาติ เช่น ดินเหนียว หญ้า แกลบ หรือชานอ้าน จะมีความทนทานสูงมาก ไม่ทำปฏิกิริยาต่อสารเคมีหลายชนิด ทนความร้อนได้ดี แข็งแรง เป็นวัสดุที่เหลือใช้ในชุมชน
และแผ่นครอบความร้อนสำหรับการประยุกต์ใช้ในการหุงต้มและปิ้งย่าง เป็นวัสดุกันไฟกันพลังงานความร้อนไม่ให้ความร้อนออกจากระบบ ไม่ให้ความร้อนถ่ายโอนพลังงานมากระทบร่างกายคนที่ทำอาหาร หรือรับประทานเนื้อย่างในเตาและสามารถนำมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้