ผลของความเค็มต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในสภาพเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อค้างคาวแคระ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กชกร วิกุลชัยกิจ, วีรภัทร ปัญญามัง, ทิพมาศ จุ้ยมีนวล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พิมพ์เพ็ญ เธียรสิทธิพงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาการของต้นค้างคาวแคระ (Tacca plantaginea (Hance) Drenth) และปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสูตรอาหาร MS ที่มีความเค็ม 0.00, 1.25, 2.50, 3.75, 5.00 g/L โครงงานจัดทำโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นค้างคาวแคระในอาหารสูตร MS ที่มีความเค็ม 0.00, 1.25, 2.50, 3.75, 5.00 g/L เป็นระยะเวลา 1 เดือน แล้วศึกษาพัฒนาการของต้นค้างคาวแคระในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการนำต้นค้างคาวแคระมาศึกษาการเจริญเติบโตจากจำนวนยอดและจำนวนใบ ทุก 14 วันหลังการเพาะเลี้ยง เมื่อทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเวลา 1 เดือน จึงทำการวัดปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP) และ Oxygen Radical Absorbance Capacity (ORAC)