การตรวจสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชกลิ่นฉุนในการยับยั้งการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อัญชิษฐา พะสุนิ, สุชัญญา สรรพศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มินตรา สุขสำราญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันนี้โลกกำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากทรัพยากรป่าไม้กำลังจะหมดไป ทางภาครัฐจึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ และเพื่อความสะดวกในการปลูกต้นไม้ในพื้นที่และเวลาที่จำกัด การให้น้ำแบบไส้เทียนเป็นระบบการให้น้ำในตัวเองระบบนี้ใช้หลักการของการแพร่ของน้ำจากแหล่งน้ำด้านล่างผ่านทางเชือกหรือผ้าไปยังกระถางต้นไม้ต้นไม้จะได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอระบบนี้ช่วยให้ยืดเวลาการรดน้ำ ต้นไม้เหมาะกับไม้กระถางขนาดเล็กไม่มีการใช้พลังงานในการปั้มน้ำเหมาะสำหรับผู้ปลูกไม้ในกระถางหรือแม้กระทั่งการปลูกบนอาคารที่พักอาศัยในพื้นที่จำกัด มีข้อจำกัดคือการเก็บน้ำไว้ในภาชนะเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการวางไข่ของลูกน้ำยุงได้
โดยยุงเป็นแมลงที่เป็นพาหะของโรคหลายชนิด เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้ซิก้าและโรคชิคุนกุนย่า ประเทศไทยได้มีการพบผู้ปวยที่เป็นโรคดังกล่าวจํานวนมากในแต่ละปี โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคที่มีความรุนแรง และมักจะเกิดการระบาดมากในช่วงหน้าฝน ยุงสามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ และบริเวณที่มีนํ้าขัง หรือแหล่งนํ้าเน่าเสีย วิธีที่ใช้ในการป้องกันยุง และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซึ่งมียุงเป็นพาหะ สามารถทําได้หลายวิธี เช่น การนอนในมุ้ง หรือมุ้งชุบสารเคมีฆ่าแมลง การติดตั้งมุ้งลวด การสุมควันไฟไล่ยุง การจุดยากันยุง และการทาสารเคมีไล่ยุง สารสังเคราะห์ เช่น DEET (diethyltoluamide) แต่การป้องกันดังกล่าวไม่สามารถหยุดการแพร่เชื้อของโรคได้ อีกทั้งการใช้สารเคมีในการกําจัดยุงยังก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ดังนั้นการควบคุมการเจริญเติบโตของยุงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยในการกําจัด และลดจํานวนยุงที่เป็นพาหะได้ การควบคุมการเจริญเติบโตของลูกนํ้ายุงสามารถทําได้หลายวิธี แต่วิธีที่ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต คือวิธีการใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมการเจริญเติบโตของลูกนํ้ายุง ซึ่งสารสกัดที่ใช้จะเป็นสารที่มาจากพืชจำพวกพืชกลิ่นฉุนพบว่ามีพืชที่มีกลิ่นฉุนหลายชนิดที่สามารถกําจัดลูกนํ้ายุงได้ ผู้วิจัยได้เลือกทําการศึกษาสารสกัดจากพริก ข่า โหระพา มะกรูด ตะไคร้ สะระแน่ กะเพรา แพว แมงลัก เนื่องจากเป็นพืชที่พบได้มากในท้องถิ่น จึงสนใจที่จะทําการศึกษาและนําสารสกัดของพืชมาใช้ในการควบคุมการเจริญเติบโตของลูกนํ้ายุง เพื่อลดจํานวนของยุงที่เป็นพาหะและเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาครั้งต่อไป