กล้องถ่ายภาพติดตามคน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วนกร เวศร์ภาดา, สิรวิชญ์ พร้อมฤกษ์, ธนเมศร์ เกล้าไพศาลกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุพรรณี สุภีรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันคนทั่วไปมีการพักผ่อนในชีวิตด้วยการท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่ที่เคยไปและไม่เคยไป ทั้งเดินทางไปในลักษณะหมู่ขณะและคนเดียว ซึ่งผู้คนทั่วไปมักมีการเก็บความทรงจำ ณ สถานที่ต่างๆ ของตนเองและหมู่คณะด้วยการเก็บภาพถ่ายโดยภาพถ่ายนั้นจะเป็นตัวที่แสดงบอกว่าเราได้ไปยังสถานที่แห่งนี้ ซึ่งในบางครั้งการถ่ายภาพนั้นถ้าต้องการให้ทุกคนที่อยู่ในสถานการณ์นั้นเป็นองค์ประกอบของภาพครบทุกคนทางหมู่คณะ หรือการไปยังสถานที่นั้นเพียงคนเดียว ทุกคนก็จะมีการถ่ายภาพผ่านหน้าจอหรือเซลฟี่ผ่านกล้องหน้าของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งภาพที่ได้จากกล้องหน้าของโทรศัพท์มือถือนั้นจะมีภาพที่มีความคมชัดน้อยกว่ากล้องด้านหลังโทรศัพท์ ทางกลุ่มผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว ได้ศึกษาหาข้อมูลทั้งความชัดของกล้องด้านหน้าและด้านหลัง จึงได้มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพโดยโทรศัพท์มือถือที่มีการประยุกต์ใช้บอร์ดวงจร ARDUINO และระบบเซนเซอร์ต่างๆ การตรวจจับคลื่นอัลตราโซนิคของสิ่งกีดขวางและการใช้งานของระบบ TEAM VIEWER มาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกันเป็นกล้องถ่ายภาพจากด้านหลัง เพื่อความคมชัดของภาพและการกำหนดภาพได้อย่างเหมาะสม มีการศึกษาข้อมูลความละเอียดของกล้องมือถือในแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ โดยทางกลุ่มได้จัดทำกล้องถ่ายภาพจากด้านหลังของโทรศัพท์มือถือแบบเคลื่อนที่ติดตามตัวของผู้ต้องการถ่าย การนำบอร์ดวงจร ARDUINO มาใช้ในโครงงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นงาน ROBOT CAMERA MOVEMENT ด้วยในการสั่งการควบคุมการเคลื่อนที่และเซนเซอร์ การใช้ ULTRASONIC SENSOR ในรุ่น HCSR04 ในการประยุกต์ใช้เพื่อตรวจจับวัตถุหรือมนุษย์ในขณะทำการถ่ายรูปจากกล้องโทรศัพท์มือถือ ผู้จัดทำได้เขียนแบบร่างการจัดทำตัวชิ้นงานและออกแบบโครงสร้างต่างๆ พร้อมทั้งเลือกสรรอุปกรณ์ที่สามารถจัดทำได้ โดยใช้ความคุ้มค่าและความพอเพียงในการจัดทำชิ้นงาน ประกอบตัวอุปกรณ์ ขาตั้งกล้องกับล้อหมุนที่มีฐาน 4 ฐานเป็นลูกล้อเลื่อน ซึ่งมีขนาดดังนี้ 1. ขาตั้งกล้อง มีความยาวขณะสูงสุด 120 เซนติเมตร ฐานล้อหมุนได้ 4 ล้อ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางของฐาน 30 ตารางเซนติเมตร รัศมีของฐาน 15 เซนติเมตร และมีพื้นที่ของฐานขนาด 707.14 ตารางเซนติเมตร การติดตั้ง ติดตั้งตัวเซนเซอร์อัลตราโซนิค MODEL HCSR04 จำนวน 3 ตัว การเขียน FLOW CHART การทำงานของระบบ ผู้จัดทำเขียนโค้ดคำสั่งลงตัวบอร์ด ARDUINO ผ่านคอมพิวเตอร์ ทดลองการใช้งานจริง โดยผู้จัดทำมีการแก้ไขปรังปรุงชิ้นงานตลอดการทดลองใช้ โดยผลการทดลองนี้มีประเมินการใช้ อยู่ประมาณร้อยละ 70-95% ซึ่งมีความพร้อมในการใช้งาน สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ได้ทำงานตามคำสั่งของผู้จัดทำได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้มีปัญหาความต่อเนื่องของการเคลื่อนที่ในพื้นที่ขรุขระยังไม่มีความเสถียรมากพอ แต่ผู้วิจัยได้มีการแก้ไขและพัฒนาชิ้นงานอย่างเสมอขณะทำการทดลอง เช่น การเพิ่มตัวเซนเซอร์ของชิ้นงาน การต่อสายไฟให้แน่น เป็นต้น