การศึกษาสมบัติของพอลิโพรพิลีนคอมโพสิทจากเส้นใยจากฟางข้าว ชานอ้อย และผักตบชวา เพื่อพัฒนาเป็นถุงพลาสติกชีวภาพ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รัชฎาภรณ์ กลางประพันธ์, เลิศกมล ควรมงคลเลิศ, ภูมิภัทร สมคะเณย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีระวุฒิ จันทะพันธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันมีการนิยมใช้พลาสติกกันอย่างแพร่หลาย และพลาสติกเหล่านี้มีคุณสมบัติคือย่อยสลายได้ยาก ดังนั้น หากจะทำการทำลายพลาสติกเหล่านี้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ จึงต้องอาศัยการเผา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาคุณสมบัติเส้นใยของพืชเพื่อที่จะนำมาใช้ในการคอมโพสิทควบคู่กับพอลิเมอร์ เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายของพลาสติก โดยทางคณะผู้จัดทำได้เลือกเส้นใยจากพืช 3 ชนิด มาทดสอบ คือ ฟางข้าว ชานอ้อย และผักตบชวา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นมีปริมาณมาก โดยการทดลองได้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การศึกษาเปรียบเทียบสมบัติและประสิทธิภาพของพอลิเมอร์คอมโพสิทเส้นใยจากฟางข้าว เส้นใยจากชานอ้อย และเส้นใยจากผักตบชวา การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำพอลิเมอร์คอมโพสิทระหว่างพอลิเมอร์และเส้นใย และการทำผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพจากการคอมโพสิทระหว่างเส้นใยพืชและพอลิเมอร์