แผ่นไฮโดรเจลนำส่งยาผ่านผิวหนังที่ควบคุมด้วยกระแสไฟฟ้า จากไคโตซาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทักษ์ดนัย เทียมสิงห์, สลิญากรณ์ เกตษา, นิภาธร นิตยวัน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์, เจตนิพิฐ แท่นทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการนำระบบนำส่งยาผ่านผิวหนัง (Transdermal drug delivery system) โดยจะขนส่งยาผ่านผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้าผ่านไฮโดรเจล ซึ่งผู้ศึกษาผลิตไฮโดรเจลนำไฟฟ้าจากไคโตซานสำหรับระบบส่งยาผ่านผิวหนังที่ควบคุมด้วยกระแสไฟฟ้า โดยนำไฮโดรเจลที่สังเคราะห์ได้จากไคโตซาน ไปศึกษาอิทธิพลของปริมาณพอลิไทโอฟีนที่ใช้และผลของความต่างศักย์ไฟฟ้าต่อความสามารถในการบรรจุและปลดปล่อยตัวยาออกจากแผ่นฟิล์มไฮโดรเจลนำไฟฟ้า กระบวนการศึกษา มีขั้นตอนดังนี้
ตอนที่ 1 สังเคราะห์พอลิไทโอฟีนจากไทโอฟีนมอนอเมอร์และสารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์แอนไฮดรัส ในคลอโรฟอร์ม กวนและรักษาอุณหภูมิสารจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน กรองสารและอบ
ตอนที่ 2 โด๊ปพอลิไทโอฟีนด้วยกรดซาลิไซลิกที่ใช้เป็นตัวยาในการทดลอง เพื่อได้พอลิไทโอฟีนที่มีตัวยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดที่มีขั้วบรรจุอยู่ กรองสารและอบ นำสารละลายที่เหลือจากการกรองไปวิเคราะห์ผล
ตอนที่ 3 เตรียมฟิล์มไฮโดรเจลนำไฟฟ้าจากไคโตซาน ด้วยไคโตซาน พอลิไวนิลแอลกอฮอร์และวุ้นอะกาโลสที่ละลายในกรดแอซีติก และนำไปทำปฏิกิริยากับพอลิไทโอฟีนที่ผ่านการโด๊ปกรดซาลิไซลิก นำสารผสมแต่ละความเข้มข้นเทลงในจานเพาะเชื้อที่ถูกหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ แล้วแช่เย็น และลอกเป็นแผ่นเพื่อนำไปวิเคราะห์ผล
ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ผล ผู้จัดทำศึกษาความสามารถในการบรรจุยาและปลดปล่อยยาของโดยหาค่า absorbance ของสารก่อนและหลังทดลองด้วยเครื่อง UV visible spectrometer โดยในการปลดปล่อยยานั้น ผู้จัดทำได้ทำการผลิตอุปกรณ์ทดสอบที่จำลองการใช้สารละลายบัฟเฟอร์อะซิเตทแทนผิวหนังคน โดยการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ที่ 37 องศาเซลเซียส และค่า pH 5.5 ซึ่งได้ผลการทดลอง
ตอนที่ 5 ศึกษาการโด๊ปยายูเรียครีม เพื่อหาว่าไฮโดรเจลที่สังเคราะห์สามารถใช้กับยาเชิงประกอบได้หรือไม่
ผลการทดลองกำลังอยู่ในช่วงการรวบรวมเก็บข้อมูล