แผ่นห้ามเลือดจากกระดองปูนาและเปลือกกุ้ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อภิสรา บัวหุ่ง, สุวภัทร ขุนพันธ์, วริศรา ติดมา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ถวิล วรรณวงศ์, เนตรนภา บัวเกษ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ไคโตซานนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น ช่วยเร่งการแข็งตัวของเลือด สามารถละลายน้ำได้ มีความเป็นพิษต่ำ มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
จากประโยชน์ของไคโตซานดังกล่าวข้างต้น คณะผู้จัดทำโครงงาน จึงเล็งเห็นการนําเอากระดองปูนาและเปลือกกุ้งที่เป็นของเหลือทิ้งมาสกัดเปนไคโตซาน เนื่องจากในกระดองปูนามีสารไคโตซานที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้ โดยพบว่ากระดองปูประกอบด้วยไคติน 25-30% โปรตีน 25% และแคลเซียมคาร์บอเนต 40-50 % และในเปลือกกุ้งประกอบด้วยไคติน 20 – 30 % โปรตีน 30 – 40 % แคลเซียมคาร์บอเนต เฉลี่ย1– 2 % และสารอื่น ๆ มีอยู่ในปริมาณเล็กน้อย
ในโครงงานนี้จึงได้นําสารละลายไคโตซานที่สกัดจากกระดองปูนา และจากเปลือกกุ้งมาผลิตเป็นแผ่นห้ามเลือด