เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุวิรนันท์ เจริญฤทธิ์, ศุภลักษณ์ สองพัง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชรีย์ ลันดา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิเชียรมาตุ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาโค้งพาราโบลาหงายที่ใช้ในการสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ 3)ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างจากการศึกษาพบว่า

การออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ โดยออกแบบโครงสร้างของฐานเป็นโค้งพาราโบลาหงาย ซึ่งมี สมการ คือ x 2 = 60y จุดยอด/จุดต่ำสุด คือ (0,0) มีความกว้าง(w) เท่ากับ 60 ซม. จุดโฟกัส คือ จุด (0,15) สมการเพื่อหาส่วนโค้ง คือs=2∫_0^x√(1+(dy/dx)^2 dx) ความยาวส่วนโค้ง คือ S=68.86761 ซม. พื้นที่ผิวส่วนโค้ง เท่ากับ 4,820.9 ตร.ซม. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการทดลองอบผลไม้ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ 1. การทดลองอบกล้วยน้ำว้าสุกในระยะเวลา 190 นาที ปรากฏผล ดังนี้ อุณหภูมิภายในตู้อบโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 49.7895 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเท่ากับ 59 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเท่ากับ 31 องศาเซลเซียส ความชื้นภายในตู้อบโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 19.8368 %,W.B. ความชื้นสูงสุดเท่ากับ 39 %,W.B. ความชื้นต่ำสุดเท่ากับ 8 %W.B.ความสัมพันธ์ระหว่างเวลา (นาที) กับความชื้นระหว่างการอบกล้วยน้ำว้าพบว่าเมื่อพิจารณาการกระจายที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) กับความชื้นระหว่างการอบกล้วยน้ำว้า อาจอนุโลมได้ว่าอยู่ในรูปเส้นตรง สมการปกติของความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันที่มีกราฟเป็นรูปเส้นตรง จะได้ คือ a ประมาณ 27.6428 และ b ประมาณ -0.1568 ดังนั้น สมการสำหรับการประมาณค่าความชื้น จากการวัดอุณหภูมิของตู้อบ คือ Y ̂=27.6428-0.1568x ปริมาณน้ำที่ต้องการระเหยภายในเวลา 1 วัน ของกล้วย มีค่าเท่ากับ 0.71322333333 2. การทดลองอบมะม่วงสุกในระยะเวลา 186 นาที ปรากฏผล อุณหภูมิภายในตู้อบโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 42.7097 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเท่ากับ 52 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเท่ากับ 33 องศาเซลเซียสความชื้นภายในตู้อบโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 13.8065 %,W.B. ความชื้นสูงสุดเท่ากับ 25 %,W.B. ความชื้นต่ำสุดเท่ากับ 8 %W.B. ความสัมพันธ์ระหว่างเวลา(นาที)กับความชื้นระหว่างการอบกล้วยน้ำว้าพบว่าเมื่อพิจารณาการกระจายที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ(องศาเซลเซียส)กับความชื้นระหว่างการอบมะม่วง อาจอนุโลมได้ว่าอยู่ในรูปเส้นตรง สมการปกติของความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันที่มีกราฟเป็นรูปเส้นตรงมี รูปสมการทั่วไปเป็น : Y ̂=a+bx และมีสมการ จะได้ คำตอบของสมการคือ a ประมาณ 13.80645161 และ b ประมาณ -0.015378877 ดังนั้น สมการสำหรับการประมาณค่าความชื้น จากการวัดอุณหภูมิของตู้อบคือY ̂=1380645-0.01538x ปริมาณน้ำที่ต้องการระเหยภายในเวลา 1 วัน ของมะม่วง เท่ากับ 0.6617 และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อโครงงาน เรื่อง เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด