ศึกษาสัดส่วนของกรดฟูลวิกและปุ๋ยเคมีที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการดูดซึมน้ำของผักกวางตุ้งในระบบการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กิตติภณ สุทธิประภา, นวพล รักวงษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย ชัยมณี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันการทำอาชีพเกษตรกรถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับประชากรในประเทศไทย นั่นเป็นเพราะประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นจึงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชพรรณต่างๆ แต่บางครั้งก็มีข้อจำกัดอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเพราะปลูกได้ อย่างเช่นฤดูแล้ง ซึ่งเป็นฤดูที่มีฝนตกน้อยและแห้งแล้งกว่าปกติ ซึ่งกินเวลาช่วงเดือนตุลาคมจนถึงเดือนมีนาคมปีถัดไป ระหว่างนี้เกษตรกรจึงนิยมปลูกพืชทนแล้ง เนื่องจากปลูกง่าย ต้องการน้ำน้อย จาการสืบค้นข้อมูลพบว่ากรดฟูลวิก เป็นสารหลักในสารประกอบฮิวมิค ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนธาตุอาหารของพืชอยู่ในสภาพที่เป็นประจุ ซึ่งทำให้พืชดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ทางผู้จัดทำจึงได้เกิดข้อสงสัยว่าถ้าหากนำพืชที่ทนแล้ง ซึ่งทางผู้จัดทำได้เลือกใช้เป็นผักวางตุ้งมาปลูกในระบบการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์เพื่อให้สามารถควบคุมธาตุอาหารได้ และให้ธาตุอาหารคือกรดฟูลวิกและปุ๋ยน้ำสำเร็จรูปในสัดส่วนที่แตกต่างกันจะได้ผลของการเจริญเติบโตและการดูดซึมน้ำเป็นอย่างไร นี่จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงงานเพื่อศึกษาสัดส่วนของ กรดฟูลวิกและปุ๋ยเคมีที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการดูดซึมน้ำของผักกวางตุ้งในระบบการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์