การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากดอกไม้กินได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จาฏุพัจน์ สู่คง, ธวัลรัตน์ ทิพย์พิทักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย ชัยมณี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อาหารเพื่อสุขภาพจึงได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระ เพราะอนุมูลอิสระ (free radical) เป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียร ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีลูกโซ่ เป็นสาเหตุสําคัญ ของโรคหลายชนิด ดังนั้นทางผู้จัดทำโครงงานนี้จึงมีความสนใจเกี่ยวกับการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และนิยมรับประทานโดยทั่วไป ซึ่งข้าวที่เลือกมาใช้ในการทำโครงงานครั้งนี้ คือ ข้าวกล้องพันธุ์เบายอดม่วง เหตุที่เลือกใช้ข้าวดังกล่าว เนื่องจากทางผู้จัดทำโครงงานนั้นอยู่ในพื้นที่บริเวณจังหวัดตรัง ซึ่งข้าวกล้องพันธุ์เบายอดม่วงนั้นเป็นข้าวเศรษฐกิจประจำจังหวัดตรัง และข้าวกล้องเป็นข้าวที่ยังไม่ผ่านการขัดสีจึงอุดมไปด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์มากมาย จึงเป็นการนำสินค้าท้องถิ่นมาพัฒนาให้ได้คุณประโยชน์ด้านโภชนาการและช่วยเพิ่มมูลค่าของข้าวเศรษฐกิจและประโยชน์ในด้านอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้อีกหนึ่งทางเลือกในการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพคือ ดอกไม้กินได้ เพราะนำไปประกอบอาหารได้มากมาย สีสันสวยงาม และจากงานวิจัยพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากอีกด้วย โดยการทำโครงงานในครั้งนี้ทางผู้จัดทำมุ่งหวังที่จะผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากดอกไม้กินได้ 3 ชนิด ได้แก่ ดอกกุหลาบมอญ ดอกดาหลา และดอกคูน โดยวิธีการแช่และเคลือบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด