การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายตัวของฝุ่น PM ในจังหวัดเลยด้วยอุปกรณ์ Cube Sat Lite
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กมลทิพย์ ยอดสนิท, จิรัชญา ไตรวงศ์ย้อย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สงกรานต์ บุตตะวงค์, สุทัศน์ บุตรชานนท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายตัวของฝุ่น PM ในจังหวัดเลยด้วยอุปกรณ์ Cube Sat Lite จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายตัวของฝุ่น PM ในพื้นที่จังหวัดเลย รวมถึงเพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ Cube Sat Lite เนื่องจากปัจจุบันในช่วงของการเก็บเกี่ยวพืชผลในจังหวัดเลยมีการเผาไฟเพื่อช่วยให้การเก็บเกี่ยวเป็นไปได้ง่ายรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในบางอำเภอของจังหวัดเลยใช้การเผาไหม้ในบางกระบวนของการแปรรูปผลผลิต พฤติกรรมพวกนี้ก่อให้เกิดฝุ่น PM ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยข้อมูลสถิติของฝุ่น PM ที่มีการบันทึกจะสํารวจพื้นที่ในอำเภอเมืองเท่านั้น แต่เนื่องจากภูมิประเทศรวมทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรมในแต่ละอำเภอในพื้นที่จังหวัดเลยมีความแตกต่างกัน ผู้จัดทำจึงคิดที่จะนำไมโครคอนโทรลเลอร์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM รวมถึงปริมาณความชื้นและอุณหภูมิ จากนั้นรวบรวม, วิเคราะห์และแปรผลข้อมูลที่ได้มาจาก Cube Sat Lite ผ่าน Google Sheets จากนั้นนำข้อมูลสถิติและผลกระทบมาสร้างสื่อผ่าน Looker Studio พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่จากข้อมูลที่มี ซึ่งจากการทดลองนำ Cube Sat Lite ไปติดตั้งพร้อมเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ของฝุ่น PM2.5, ความชื้น และอุณหภูมิ พบว่าไม่ตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือเมื่อปริมาณฝุ่น PM2.5 มาก ความชื้นจะสูง และอุณหภูมิจะต่ำ ส่วนปริมาณฝุ่น PM2.5 น้อย ความชื้นจะต่ำ และอุณหภูมิจะสูง จากสรุปผลการทดลองทำให้ทราบว่าอุณหภูมิและความชื้นคือหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายตัวและปริมาณของฝุ่น PM2.5 โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในอนาคต รวมถึงการพยากรณ์ปริมาณมลพิษที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต