ภาชนะกันบูดในกระบวนการเก็บน้ำช่อดอกมะพร้าวเพื่อยับยั้งกระบวนการหมักตามธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัชพล แก้วเขียว, ณัฐวัฒน์ วัฒนา, ดุษฎี ขาวเอี่ยม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ผกากรอง โยธารักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำตาลสดเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เป็นเครื่องดื่มที่มีรสหวานหอมและให้ความสดชื่นแก่ร่างกาย ซึ่งเป็นที่นิยมกันในคนหมู่มากของประเทศไทย จึงทำให้ชาวสวนในชุมชนปากพูนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีการผลิตน้ำตาลสดจากช่อดอกมะพร้าวเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนมากมายและสามารถพัฒนาไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชน แต่ในระหว่างกระบวนการการเก็บน้ำช่อดอกมะพร้าวนั้นพบว่าน้ำช่อดอกมะพร้าวที่ออกมามีปัญหาเน่าเสียเร็ว ทำให้ชาวสวนจำเป็นจะต้องหาสิ่งที่มาชะลอการเน่าเสียหรือยับยั้งการหมักของน้ำช่อดอกมะพร้าวพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับการยับยั้งกระบวนการหมักของน้ำช่อดอกมะพร้าวโดยการใช้เปลือกไม้ต้นตะเคียนซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยในเปลือกไม้ตะเคีบยพบว่ามีสารฟีนอลิกที่สามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาการหมักเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ได้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้สารกันบูดสังเคราะห์ ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงสนใจที่จะในการนำพืชที่มีสารฟีนอลิกมาศึกษาการยับยั้งกระบวนการหมักในน้ำช่อดอกมะพร้าวช ได้แก่ พะยอม ตะเคียน และมะม่วง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งการหมักของเปลือกไม้ชนิดต่างๆ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ฟิล์มบริโภคได้ เพื่อบรรจุเป็นภาชนะสำหรับป้องกันการเน่าเสียของน้ำช่อดอกมะพร้าว เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของเปลือกลำต้นพืชที่เหมาะสมในการป้องกันการเน่าเสียของน้ำช่อดอกมะพร้าว เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระยะเวลาในการป้องการเน่าเสียของเปลือกลำต้นพืช และเพื่อพัฒนาฟิล์มบริโภคได้จากเปลือกไม้เพื่อบรรจุน้ำช่อดอกมะพร้าว โดยการศึกษาด้วยการทดลอง 4 การทดลองได้แก่ การทดลองที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งกระบวนการหมักของน้ำช่อดอกมะพร้าวด้วยเปลือกลำตันพืชชนิดต่างๆ การทดลองที่ 2 ศึกษาวิธีป้องกันการเน่าเสียของน้ำตาลสดด้วยเปลือกลำตันพืชปริมาณต่างๆ การทดลองที่ 3 ศึกษาระยะเวลาป้องกันการเน่าเสียของน้ำตาลช่อดอกมะพร้าวหลังจากใช้เปลือกลำต้นพืชในปริมาณที่เหมาะสม การทดลองที่4 ศึกษาความสามารถในการใช้ซ้ำของเปลือกไม้ต่อการยับยั้งการหมักตามธรรมชาติของน้ำช่อดอกมะพร้าว และตรวจสอบคุณภาพของน้ำช่อดอกมะพร้าว ด้วยการวัดค่าpH และ Methylene blue reduction test โครงงานนี้จึงพัฒนาขึ้นเพื่อให้ชาวสวนมีทางเลือกเพื่อทดแทนสารกันบูดสังเคราะห์ ด้วยเปลือกไม้จากธรรมชาติ และเพื่อพัฒนาต่อเป็นภาชนะสำหรับการกันบูดในวงกว้าง