ภาชนะจากนมบูด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิตานนท์ เบญจพันธ์, ณัฐนันท์ เลขะธรรม, ธีร์ลดา มะเดช
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รัตติกาล แก้วบัณฑิตย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ ในช่วง โควิด-19 นี้ เราได้พบปัญหาหนึ่งคือ มีนมหลายลิตรในประเทศไทย ถูกทิ้งเอาไว้ไม่ได้ส่งออก หรือเหลือค้างไว้ภายในฟาร์มเป็นจำนวนมาก จึงทำให้นมวัวเหล่านั้นกลายเป็นนมบูด ไม่สามารถรับประทานได้อีกต่อไป จากการสังเกต จะพบว่านมบูดนี้จะตกตะกอนแข็งเป็นก้อนตะกอนของโปรตีนเคซีน แยกชั้นออกจากนม หรือมีลักษณะที่เหนียวข้นกว่าปกติ จากนั้น นมบูดเหล่านี้ก็จะถูกทิ้งในที่สุด คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะแปรรูปนมบูดให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แทนการทิ้งนมเหล่านั้น นั่นก็คือ การนำเอาตะกอนที่ได้จากการตกตะกอนของนมบูด และตะกอนที่ได้จากการนมบูดมาทำกระบวนการตกตะกอนที่จุดไอโซอิเล็กทริก (isoelectric point precipitation) นำมาขึ้นรูปและเข้าอบ จากนั้นจึงนำภาชนะที่ได้มาทำการทดสอบประสิทธิภาพ ทั้งความแข็งแรง อุณหภูมิที่ยังคงสามารถคงรูปเป็นภาชนะได้อยู่ และทดสอบการรั่วซึมของน้ำ เราจะได้เป็นภาชนะที่เราสามารถนำเอามาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงเป็นอีกภาชนะทางเลือก ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย และสามารถทดแทนรายได้ที่เสียไปของฟาร์มโคนมจากการที่มีนมบูด นอกจากนี้ ยังเป็นการลดขยะและมลพิษในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย การนำนมบูดที่มีกลิ่นเหม็นไปทิ้งนั้น อาจทำให้เกิดมลพิษทางกลิ่นแก่ชาวบ้านบริเวณนั้นได้ รวมถึงทำลายสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในบริเวณที่นำไปทิ้ง ดังนั้น การนำนมบูดมาแปรรูปทำเป็นภาชนะนี้ จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ แล้วยังเป็นการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างนมและกรด รวมถึงปฏิกิริยาการตกตะกอนของโปรตีนที่จุด
ไอโซอิเล็กทริก