การพัฒนาถุงเพาะชำไบโอพลาสติกจากชานอ้อยที่ถูกตรึงด้วยราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าเพื่อการเจริญเติบโตของพืชขณะเพาะชำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวนัน เครือจิต, ศศิภา ชัยชนะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุธิพงษ์ ใจแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ถุงเพาะชำไบโอพลาสติกจากชานอ้อยที่ถูกตรึงด้วยไมคอร์ไรซ่าเป็นผลผลิตจากการนำของเหลือใช้มาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือชานอ้อยที่เป็นของเหลือใช้ ผลิตน้ำตาลและเปลือกอ่อน อ้อยควั่นใช้ใน การขบเคี้ยวหรือจำหน่ายเป็นน้ำอ้อยสด ในการผลิตดังกล่าวมักจะเหลืออ้อยที่ผ่านการคั้นมาแล้วเรียกว่า ชานอ้อย เป็นวัสดุที่เหลือจากอุตสาหกรรมการทำน้ำตาลเป็นจำนวนมากถึง 20ล้านตันต่อปี ร้อยละ80ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงและเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่ก็ยังพบว่ามีชานอ้อยที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งกำลังเป็นที่น่าสนใจเนื่องจากในปัจจุบันถุงเพาะชำพืชโดยทั่วไปแล้วผลิตจากพลาสติก เมื่อเพาะชำเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำพืชลงดินและถุงเพาะชำนั้นจะถูกทิ้งเป็นเศษขยะอย่างสิ้นเชิง เศษพลาสติกถุงเพาะชำที่เกิดจากการเพาะชำพืชนั้นอาจทำให้เกิดมลภาวะกับสิ่งเเวดล้อม
ปัจจุบันพบว่าโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นที่เรียกว่า
”ภาวะโลกร้อน” และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้จึงมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอีกแนวทางหนึ่งคือ การปลูกต้นไม้ แต่จากการเพาะปลูกต้นกล้าต่างๆใช้ถุงเพาะชำซึ่งถุงเพาะชำเป็นวัสดุจำพวกพลาสติก เมื่อเรานำต้นกล้าลงกินหรือลงกระถางแล้ว ถุงพวกนี้ก็จะกลายเป็นขยะซึ่งขยะจำพวกพลาสติกใช้ระยะเวลาในการย่อยสลานนานถึง450ปี และถ้าถุงดังกล่าวถูกนำไปเผาก็จะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม
เราจึงได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาถุงเพาะชำที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมที่ทำจากวัสดุเหลือใช้อย่าง ชานอ้อย โดยนำชานอ้อยที่มีคุณสมบัติดูดซับความชื้น มาสกัดเป็นเซลล์โลส ที่ถูกตรึงด้วยเชื้อราไมเคอร์ไรซ่ามาประสานด้วยน้ำยาง ขึ้นรูปเป็นถุงเพาะชำ