การศึกษาประสิทธิภาพแผ่นฟิล์มชีวภาพจากฟางข้าวที่ผสมสารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุด เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วิภาวรรณ ภิรมย์จันทร์, คณิษฐ์ชญา หมาดทิ้ง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วัชราภรณ์ แสนนา, รพีพร ตะเคียนราม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานการศึกษาประสิทธิภาพแผ่นฟิล์มชีวภาพจากฟางข้าวที่ผสมสารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุด เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดคาร์บอกซี-เมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าว สกัดสารแทนนินจากเปลือกมังคุด ขึ้นรูปแผ่นฟิล์มจากฟางข้าวที่ผสมสารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุด และศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.gloeosporioides. โดย แบ่งการทดลองออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้ สกัดเส้นใยเซลลูโลสจากฟางข้าว สังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิเซลลูโลส (CMC) การสกัดสารแทนนินจากเปลือกมังคุด จากนั้นนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มชีวภาพที่ผสมสารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุด และทดสอบคุณสมบัติของแผ่นฟิล์ม ทดสอบประสิทธิภาพการปลดปล่อยสารสกัดแทนนินในแผ่นฟิล์ม ทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.gloeosporioides. และทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.gloeosporioides.

จากผลการทดลองพบว่า สามารถสกัด CMC จากฟางข้าวได้ โดยพบว่าใน CMC ที่สกัดได้มีหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) และไฮดรอกซิล (-OH) เป็นองค์ประกอบ เมื่อผสมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) น้ำกลั่น กลีเซอรอล ไคโตซาน และสารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุด สามารถขึ้นรูปแผ่นฟิล์มพลาสติกชีวภาพได้ทุกอัตราส่วน แผ่นฟิล์มมีผิวเรียบและมีความแข็งแรง มีค่าการทนแรงดึงขาดเท่ากับ 3.783 MPa มีปริมาณความชื้นน้อยที่สุดเท่ากับ 23.06 % และมีคุณสมบัติย่อยสลายในดินและในน้ำได้ดี เนื่องจากฟางข้าว มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบอยู่ถึงร้อยละ 49.92 และสารสกัดแทนนินที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.gloeosporioides. โดยประสิทธิภาพในการยับยั้งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารสกัดแทนนิน หากมีความเข้มข้นของสารสกัดแทนนินสูง จะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งได้ดี และแผ่นฟิล์มชีวภาพที่ผสมของสารแทนนินยังช่วยยืดอายุการเน่าเสียของมะม่วง สังเกตุจากค่าความแตกต่างของสีและการสูญเสียน้ำหนัก แผ่นฟิล์มชีวภาพที่พัฒนาขึ้นมาสามารถนำผลการศึกษาไปเป็นข้อมูลมาใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร และพัฒนาในอุตสาหกรรมอื่นๆได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 ด้านการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม