การศึกษาประสิทธิภาพของกระดาษดูดซับเอทิลีนจากเส้นใยของกาบกล้วยกับเส้นใยของผักตบชวา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐชยา ไวยครุทธา, ณัฐภัทร บัวภิบาล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อำนวยพร ศรีสวัสดิ์, อรทัย ล่ำสัน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ผลไม้ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างกล้วยน้ำว้า มีการสร้างและปล่อยก๊าซเอทิลีน(Ethylene) ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชมีสมบัติเป็นแก๊สที่ระเหยได้ เกิดขึ้นในกระบวนการเมแทบอลิซึม(Metabolism)ของพืช โดยเฉพาะในช่วงที่ผลไม้สุก จะมีแก๊สนี้แพร่ออกมามาก และสามารถเหนี่ยวนำให้ผลไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ สุกตามไปด้วย กรณีที่พืชได้รับเอทิลีนมากเกินไปในบางช่วงในขณะที่เจริญเติบโตจะทำให้ไปเร่ง ให้ผลสุก เร็วกว่าความต้องการ ทำให้เก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน ส่งผลให้เกิดผลเสีย ในกรณีที่ส่งออกไม้ผลไปขายและอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาจึงต้องหาทางชะลอการสุกของผลไม้โดยพบว่า ถ่านกัมมันต์ ถ่านที่ต้องนําไปผ่านกระบวนการกระต้นด้วยสารเคมีหรือวิธีทางกายภาพก่อน ทําให้โครงสร้างทางกายภาพของถ่านเกิดรูพรุนหรือรอยแตกขนาดเล็กในระดับนาโนเมตรจำนวนมหาศาล โดยขนาดรูพรุนของถ่านกัมมันต์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการดูดซับ จึงมีประสิทธิภาพพอที่จะดูซับเอทิลีน โดยใช้กระดาษที่ทำจากเส้นใยจากกาบกล้วยและเส้นใยจากผักตบชวาเป็นตัวประสานถ่านกัมมันต์
ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระดาษดูดซับเอทิลีนจากเส้นใยธรรมชาติผสมผงถ่านกัมมันต์ โดยใช้เส้นใยกล้วยผสมกับเส้นใยผักตบชวา ในอัตราส่วน 100:0 , 0:100 และ 50:50 ผสมผงถ่านกัมมันต์ และ นํ้า ให้ทั้งหมดรวมกันมีปริมาตร 1000มิลลิลิตร โดย ตรวจสอบได้จากการนำกระดาษดูซับเอทิลีนที่ได้ ไปห่อหุ้มกล้วยนํ้าว้ามะลิอ่อง โดยควบคุมให้ตัดผลออกจากต้นในวันเดียวกันและเวลาใกล้เคียงกัน มีนํ้าหนัก-ขนาดผลเท่ากัน และสีของผลที่ใกล้เคียงกัน บันทึกผลโดยการสังเกตุ ความสดและสีของผล,กลิ่น ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะเวลา7วัน เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลของกล้วยนํ้าว้ามะลิอ่องที่ถูกห่อหุ้มด้วยกระดาษดูซับเอทิลีนแต่ละสูตร และกล้วยนํ้าว้าที่ไม่มีการห่อหุ้มด้วยกระดาษดูซับเอทิลีน โดยใส่แยกกันไว้ในภาชนะปิด