สีย้อมนิวเคลียสประยุกต์จากพืชท้องถิ่นและมอร์แดนท์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤตยา เลาะปนสา, รุ่งจันทร์ฉาย อรุณลิ่มสวัสดิ์, อนัญชิตา แก้วสาทร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มาเรียม วัทนาด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การพัฒนาสีย้อมนิวเคลียสจากธรรมชาติทางชีววิทยา ของพืชในท้องถิ่น 3 ชนิด คือ ข้าวเหนียวดำ ขมิ้น และ กะหล่ำปีม่วง ซึ่งถือเป็นพืชที่หาง่ายทั้งในฤดูกาลและนอกฤดูกาลโดยทำละลายกับตัวทำละลาย 2 ชนิดคือน้ำและEthanol 95% อีกทั้งยังพัฒนาประกอบกับสารช่วยย้อม หรือมอร์แดนท์ 3 ชนิดคือสารส้ม(Potassium aluminium Sulphate ) เกลือแกง(Sodium Chloride) และน้ำขี้เถ้า
จากการทดลองพบว่าสีย้อมจากข้าวเหนียวดำที่ทำละลายโดยน้ำ มีประสิทธิภาพติดนิวเคลียสของเซลล์รากหอมได้ดีกว่าตัวอื่นๆ และจสกมอร์แดนท์ ทั้ง 3 ชนิดที่นำมาศึกษาพบว่าสารส้มเป็นมอร์แดนท์ที่ดีที่สุดที่นำมาย้อมกับพืชตัวอย่าง และรองลงมาคือน้ำขี้เถ้า
จากข้างต้นสรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาสีย้อมนิวเคลียสจากธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการศึกษาทางชีววิทยา และลดอัตราการซื้อสีย้อม ซึ่งมีความอันตรายและราคาแพง ทำให้ประหยัดงบประมาณมากยิ่งขึ้น