การศึกษารูปแบบการปลูกและวิธีการดูแลข้าวให้เจริญเติบโตแบบชีววิธีในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชวกร ชูเรือง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุเทพ แพทย์จันลา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ข้าวจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับหนึ่งของประเทศ พื้นที่การเกษตรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศใช้ในการทำนาซึ่งพื้นที่นาส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศโดยพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงสำหรับการปลูกข้าวเพราะต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติแต่ก็ยังประสบกับปัญหาภัยแล้งดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกิดการระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งปัญหาวัชพืชที่ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำทั้งคุณภาพและปริมาณ ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าวพันธุ์หลักๆ 2 พันธุ์ คือข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ และข้าวเหนียว (บุญรัตน์ จงดี และคณะ, 2554) จึงนับได้ว่าข้าวจัดเป็นพืชที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์พันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งการเพิ่มผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้ทดลองจึงเล็งเห็นความสำคัญในการเพิ่มผลผลิตข้าวที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อเป็นแนวทางเลือกให้เกษตรกรได้นำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป โดยมีแนวคิดในการศึกษาเกี่ยวกับระยะเวลาที่เหมาะสมของการแช่เมล็ดข้าวปลูกเพื่อใช้เป็นต้นกล้าสำหรับปลูก การศึกษาชนิดของดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตเพื่อการปรับปรุงดินให้ดีขึ้นกว่าเดิม การศึกษาชนิดของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของข้าวที่เหมาะสมต่อข้าวแต่ละพันธุ์ การศึกษาระดับน้ำที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาเมื่อเกิดการขาดแคลนน้ำหรือเป็นการประหยัดทรัพยากรน้ำ การศึกษาระยะห่างของต้นกล้าที่ใช้ปักดำเพื่อการเจริญเติบโต การศึกษาวิธีการยับยั้งวัชพืชในแปลงนากล้าข้าวซึ่งเป็นช่วงที่มีวัชพืชขึ้นปกคลุมต้นกล้า ตลอดจนการศึกษาผลของการกำจัดเพลี้ยของสารสกัดจากวัชพืชบางชนิดที่พบในท้องนาอาทิ เช่น ต้นงวงช้าง ต้นแมงลักป่า และต้นสาบแร้งสาบกา รวมถึงการตรวจสอบหาสารพฤกษเคมีและปริมาณของสารพฤกษเคมีบางชนิดที่สามารถตรวจได้ในวัชพืชที่พบในท้องนาของเกษตรกร