นวัตกรรมการผลิตบิวเทนไดอลลจากขยะทางการเกษตรที่มีแหล่งอาหารสูงสําหรับจุลินทรีย์เพื่อให้ได้ เชื้อเพลิงชีวภาพทางเลือกใหม่

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐกฤต สุ่นจันทร์, บัณฑิตา จันทอุทัย, ณฐนน ดังไธสงฆ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พิไลลักษณ์ ศิริสุรวงศ์, เศกสิทธิ์ ชำนาญศิลป์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ขยะทางการเกษตรมีแหล่งกำเนิดที่ส่วนใหญ่มาจากกระบวนการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบันปริมาณขยะทางการเกษตรมีเพิ่มขึ้นและยากต่อการกำจัดเพราะมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป และมีกำลังความต้องการใช้ที่สูงขึ้นเช่นกัน

ผู้ศึกษาได้เล็งเห็นว่าขนไก่ซึ่งเป็นขยะทางการเกษตรในปัจจุบันมีการกำจัดขนไก่หลายวิธี ส่วนใหญ่จะนำไปจำหน่ายให้โรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากที่มีปริมาณโปรตีนสูง และสามารถนำมาเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิดได้ รวมถึง Klebsilla oxytoca เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถผลิต 2,3-บิวเทนไดออล(2,3-BD) เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับอากาศยาน และเพิ่มค่าออกเทนของน้ำมันเชื้อเพลิงได้ โดยการผลิต 2,3-BD สามารถทำได้หลายวิธีตัวอย่างเช่นในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น 2,3-BD นั้นเตรียมจากกระบวนการไฮโดไลสิสของ2,3-epoxybutane หรือในสงครามโลกที่ใช้กระบวนการหมัก

ในงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะนำขนไก่ไปย่อยด้วยจุลินทรีย์ ให้ได้น้ำย่อยขนไก่ เพื่อนำไปเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อของเชื้อ Klebsilla oxytocaในการผลิต 2,3-BD ผลการศึกษาค้นคว้าคาดว่าจะได้ 2,3-BD ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพโดยนวัตกรรมทางเลือกใหม่ และลดปริมาณขยะทางการเกษตร โครงงานนี้จึงสามารถตอบสนองกระแสนิยมเทคโนโลยีสะอาดอย่างครบวงจร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม