การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับคลอรีนด้วยสารสกัดจากรางจืด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิชกานต์ พรหมเกิด, อนุสสรา สิทธิสุวรรณกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฉัตรธิดา ชัยโพธิ์ศรี, วิภาวี ศรีหานนท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัญหาเรื่องการบำบัดน้ำประปาในครัวเรือนนั้นสามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะเรื่องการปนเปื้อนสารคลอรีนในปริมาณความเข้มข้นที่มากกว่ามาตรฐานสากล ซึ่งคลอรีนนั้นมีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์เมื่อได้รับสะสมเป็นจำนวนมากจะเกิดอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง อาจเกิดเยื่อบุตาอักเสบสามารถก่อให้เกิดโรคหอบหืด อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จึงมีการคิดค้นวิธีการลดปริมาณสารคลอรีนโดยวิธีการต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น การใช้เกล็ดไฮโปคลอรีน แต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่คือหากคำนวณอัตราการใช้งานผิดพลาด ก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้น้ำขุ่น และอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตเช่นปลาบางชนิดได้
ปัจจุบันนี้มีการนำรางจืดไปใช้เป็นส่วนผสมในการบำบัดน้ำเสียและปรับสมดุลของน้ำประปา นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าสารสกัดจากรางจืดสามารถดูดซับสารเคมีบางอย่างได้ เช่น ฟอร์มาลีน ตะกั่ว คณะผู้วิจัยจึงจัดทำการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถในการดูดซับสารคลอรีน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับคลอรีนในน้ำประปาด้วยสารสกัดจากรางจืดที่ปริมาตรต่างๆ และระยะเวลาที่ใช้ในการดูดซับสารคลอรีน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางใหม่ในการลดการใช้สารเคมีในการบำบัดคลอรีนในน้ำและป้องกันการเกิดอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมต่อไป