เพิ่มประสิทธิภาพในการปักชำแบบควบแน่นด้วยไคโตซานจาก คราบหนอนนกคอมพาวด์ด้วยซิงค์ออกไซด์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นราธร วิเชียรธร, วัชระ ทวนทอง, ธนบดี เมธากิตตินันต์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการเกษตร วัตกรรมการขยายพันธุ์พืชจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับประเทศไทย เพราะจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ประเทศเป็นอย่างมากถ้าเราคิดนวัตกรรมที่ช่วยทำให้การขยาย

พันธุ์พืชเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอย่างมากขึ้น ในการทดลองนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อสกัดไคโตซานจากคราบหนอนนกซึ่งมีปริมาณมากในการเลี้ยงหนอนแต่ละรอบ และเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่นิยมใช้กันในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหนอน จึงได้ทำการสกัดไคโตซานจากคราบหนอน โดยการ Demineralization จากคราบหนอน โดยการนำมาทำปฏิกิริยาด้วยกรด HCL เข้มข้น 1 % อุณหภูมิ 80 องสาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง แล้วทำปฏิกิริยา deproteination ด้วยสารละลาย NaOH เข้มข้น 6% เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นกำจัดหมู่อะซิทิล โดยใช้สารละลาย NaOH เข้มข้น ร้อยละ 40 ที่อุณหภูมิ 90 C นาน 2 ชั่วโมง ได้ไคโตซาน มากกว่าไคโตซานจากเปลือกกุ้งแชบ๊วย 1.4 กรัม/100 กรัม ไคโตซานที่ได้นี้สามารถนำมาเร่งรากที่ใช้วิธีการปักชำด้วยการควบแน่น และทำการป้องกันเชื้อราที่เกิดขึ้นกับต้นกิ่งพันธุ์ด้วยการแช่ในซิงค์ออกไซด์ 2 % จะช่วยให้กิ่งพันธุ์งอกได้ 100 % และมีอัตราการงอกเร็วกว่าไม่ได้ใช้ไคโตซานและซิงค์ออกไซด์ ดังนั้นกระบวนการในการพัฒนาวิธีการปักชำแบบควบแน่นโดยการกระตุ้นด้วยไคโตซานคอมพาวด์ซิงด์ออกไซด์ จึงเป็นนวัตกรรมการขยายพันธุ์พืชที่ให้ผลอย่างรวดเร็ว