เม็ดกักเก็บความชื้นในดิน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ฐิติวรดา เรืองปลอด, พิมพ์นิภา โสกุล, กิตติยา ไทยเอียด

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุวารี พงศ์ธีระวรรณ, เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เม็ดกักเก็บความชื้น จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดินแห้ง หรือดินที่มีการสูญเสียความชื้นของดิน มีผลทำให้พืชไม่เจริญเติบโต การรดน้ำแต่ละครั้งจะสูญเสียไปกับการที่น้ำซึมลึกลงไปเกินตำแหน่งที่รากพืชจะดูดได้ อีกส่วนหนึ่งระเหยออกไป สภาพดินบางแห่งไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้จึงทำให้เกิดภาวะดินขาดน้ำ จึงต้องรดน้ำลงในดินบ่อยครั้งเป็นการสูญเสียทรัพยากรน้ำ จึงต้องการหาวิธีการในการจัดการกับดินให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ และปลดปล่อยน้ำให้แก่พืชได้ มีการใช้เม็ดพลาสติกสังเคราะห์หลายชนิดมาแก้ปัญหานี้ แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากราคาที่ไม่คุ้มกับคุณภาพ และการสลายตัวได้ยาก จึงได้คิดนำวัสดุชีวภาพมาพัฒนาเป็นเม็ดบีท สำหรับกักเก็บ และปลดปล่อยน้ำสู่ดิน ซึ่งได้คัดเลือกมิวซิเลจจากเมล็ดแมงลัก เส้นใยทะลายปาล์มและขุยมะพร้าว มาพัฒนาโครงสร้างให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ มาผสมกับแป้งชนิดต่างๆเนื่องจากเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายและมีต้นทุนในการผลิตต่ำ จึงได้ทำการสกัดมิวซิเลจ แล้วทำการปรับปรุงโครงสร้าง ให้มีความสามารถในการดูดซึมน้ำได้มากขึ้น และทำการคอมพาวด์เพื่อให้ได้วัสดุที่ดูดซึมน้ำได้ดี หลังจากนั้น เราจะนำมาศึกษาคุณสมบัติของเม็ดกักเก็บความชื้นโดยเปรียบเทียบกับดินวิทยาศาสตร์ด้านการอุ้มน้ำ การปลดปล่อยน้ำ การย่อยสลาย และสภาพของต้นไม้ที่ใช้ SAP และไม่ใช้ SAP