การศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดไข่ยุงลาย(Aedes)โดยการยับยั้งระยะเอ็มบริโอและการสลายไคทินด้วยน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอเพื่อประยุกต์ใช้ในรูปแบบน้ำมันหยดที่ต้านการเกิดออกซิเดชัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปพิชญา ไชยจันทร์, สุนันทินี พุทธกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศรัญญา วงษ์ศิลา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการยับยั้งระยะเอ็มบริโอและการสลายไคทินของเปลือกไข่ยุงลาย ด้วยสารสกัดมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอในรูปแบบน้ำมันหยดในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันในน้ำมันหอมระเหยด้วยสาร Butylated hydroxytoluene (BHT) วิธีการดำเนินงานสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ ใช้เปลือกส้มโอปั่นละเอียด 1000 กรัม ด้วยอัตราส่วน 1:1.5 (เปลือกส้มโอ :น้ำกลั่น) โดยใช้เวลากลั่น 4 ชั่วโมง จากนั้นนำสารสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ได้มาแยกน้ำออก เก็บใส่ขวดทึบแสง นำสารสกัดที่ได้ไปตรวจสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นและวิเคราะห์องค์ประกอบของสารในน้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่อง Gas Chromatography - Mass Spectrometer (GC-MS) จากนั้นคำนวณอัตราการฟักของไข่ยุงลายที่นำมาใช้ในการทดลองและศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอในการยับยั้งระยะเอมบริโอของไข่ยุงลาย

โดยเจือจางน้ำมันหอมระเหยด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 70 % ให้มีความเข้มข้น 0%, 0.5%, 1.0%, 1.5%, 2%, 2.5% โดยมีปริมาตร 100 มิลลิลิตร เติมสารสกัดน้ำมันหอมระเหยแต่ละความเข้มข้นลงในภาชนะที่เพาะเลี้ยงไข่ยุง สังเกตการฟักไข่ใน 48 ชั่วโมง และนำมาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ คำนวณอัตราการฟักคิดเป็นร้อยละ พบว่าที่ความเข้มข้น 1.5% ไม่พบการฟักของไข่ยุงลาย และตรวจสอบด้วยเครื่อง Scanning Electron Microscope (SEM) เพื่อดูลักษณะสัณฐานวิทยาการสลายของไคทินบนเปลือกไข่ยุงลาย จากนั้นพัฒนาคุณสมบัติทนต่อการเกิดออกซิเดชันของน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอ โดยเติมสาร BHT ในสารสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ความเข้มข้น 1.5% ใช้ในปริมาณ 0.01-0.1% และนำไปตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีที่เปลี่ยนไปของน้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่อง GC-MS เพื่อระบุการต้านการเกิดออกซิเดชันของน้ำมันหอมระเหย และศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดน้ำมันหอมระเหยที่เติมสาร BHT ในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นทดลองหาเวลาที่เหมาะสมในการสลายตัวของน้ำมันหอมระเหยที่เติมสาร BHT โดยเปรียบเทียบสถานที่ในร่มและสถานที่กลางแจ้ง

จากการทดลองยับยั้งระยะเอ็มบริโอและการสลายไคทินของไข่ยุงลายด้วยน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอพบว่า ที่ความเข้มเข้น 0.5% ขึ้นไปสามารถกำจัดไข่ยุงลายได้ และจากการทดสอบสารสกัดน้ำมันหอมระเหยที่มีการเติมสาร BHT เมื่อเติมสาร BHT 0.1% ของน้ำมันหอมระเหย และนำไปทดสอบในที่ที่ง่ายต่อการออกซิเดชัน พบว่าน้ำมันหอมระเหยมีการใช้งานเพิ่มขึ้นจากที่ไม่เติมสาร BHT