สารสกัดจากยูคาลิปตัสป้องกันการวางไข่ของยุง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิภาวรรณ หนูแทน, สุภัสสรา ทองคำชู
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชระ เซ่งก๋อกูล, ไชยา รัชนีย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ชื่อโครงงาน สารสกัดจากยูคาลิปตัสป้องกันการวางไข่ของยุง
สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ
ชื่อนักเรียน 1. นางสาว สุภัสสรา ทองคำชู ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
นางสาว นิภาวรรณ หนูแทนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
เด็กหญิง ปรียานุช นุ่มเรืองรัน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา คุณครูวรรณี ปรางสุวรรณ ที่ปรึกษาพิเศษ คุณครูไชยา รัชนีย์ , คุณครูวัชระ เซ่งก่อกูล
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนสทิงพระวิทยา
สถานที่ติดต่อ 75/3 ถนนสายโยชน์ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 90190
โทรศัพท์ 074-397160โทรสาร 074-387285 Email Admin@stp.ac.th
ระยะเวลาในการทำโครงงาน 4 กรกฎาคม 2563 – 27 สิงหาคม 2563
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง สารสกัดจากใบยูคาลิปตัสป้องกันการวางไข่ของยุง มีวัตถุประสงค์การทดลองดังนี้ เพื่อศึกษาพืชชนิดต่าง ๆ ในท้องถิ่นสำหรับการป้องกันการวางไข่ของยุง เพื่อศึกษาส่วนต่าง ๆ ของต้นยูคาลิปตัสที่เหมาะสำหรับการป้องกันการวางไข่ของยุง เพื่อศึกษาอายุของใบยูคาลิปตัสที่เหมาะสำหรับการป้องกันการวางไข่ของยุง เพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดจากใบยูคาลิปตัสในการป้องกันการวางไข่ของยุง และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบยูคาลิปตัสและทรายอะเบตในการป้องกันการวางไข่ของยุง จากการศึกษาพบว่า พืชในท้องถิ่นที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ดีที่สุด คือ ใบยูคาลิปตัส สังเกตได้จากภาชนะที่ใส่สารสกัดจากใบยูคาลิปตัสจะไม่มียุงมาตอม และ ไม่มีลูกน้ำเกิดขึ้น พบว่าส่วนต่าง ๆ ของต้นยูคาลิปตัสที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันการวางไข่ของยุงที่ดีที่สุดคือ ส่วนของใบยูคาลิปตัส สังเกตได้จากภาชนะที่ใส่สารสกัดจากใบยูคาลิปตัสจะไม่มียุงมาตอม และ ไม่มีลูกน้ำเกิดขึ้น พบว่าอายุของใบยูคาลิปตัสที่สามารถป้องกันการวางไข่ของยุงได้ดีที่สุดคือ ใบแก่ รองลงมาคือ ใบอ่อน และใบแห้ง ตามลำดับ พบว่า ความเข้มข้นของสารสกัดจากใบยูคาลิปตัสที่เหมาะสมในการป้องกันการวางไข่ของยุงได้ดี คือความเข้มข้น 100 กรัมต่อนํ้า 300 cm3 ขึ้นไป พบว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันการวางไข่ของยุงของสารสกัดจากใบยูคาลิปตัสมีความใกล้เคียงกับการใช้ทรายอะเบต
ทั้งนี้เนื่องจากใบยูคาลิปตัส จะมีน้ำมันหอมระเหย ในกลุ่ม Ether volatile oils น้ำมันยูคาลิปตัสจะมีสาร 1,8-cineole (Eucalyptol) สูงกว่า 70% ซึ่งสาร Eucalyptol เป็นสารประกอบ monoterpene ที่มีความเป็นพิษและเป็นสารที่มีกลิ่นในการขับไล่แมลงได้ และยังพบสารอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงสามารถใช้ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก เเละโรคอื่น ๆ ที่มากับยุง ป้องกันการวางไข่ของยุงตามเเหล่งที่มีนํ้าขัง โดยวิธีใส่สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส และเป็นการนำพืชในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด