การสกัดสารโพลีฟีนอลจากอัญชันในรูปแบบผงเพื่อใช้ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลให้เกิดการเน่าเสียของปลาหมึกสด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัณฑิรา พนาศุริยสมบัติ, พิทยา ขุนพิทักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขวัญพัฒน์ ขันบุญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ช่วงปีพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการส่งออกผลผลิตทางการประมง 1,646,585.07 ตัน ซึ่งมีมูลค่า 196,785.61 ล้านบาท(กรมประมง, 2563) ปลาหมึกเป็นอาหารทะเลที่เกิดการเน่าเสียเป็นจำนวนมาก โดยแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของปลาหมึก คือ Staphylococcus aureus(ศิริโฉม ทุ้งเก้าและกิตติรัตน์ วงษ์อินทร์, 2548) เพื่อเก็บรักษาอาหารให้สดใหม่ ไม่เน่าเสีย จึงมีการผสมสารฟอร์มาลีนลงในอาหารทะเล โดยไม่คำนึงถึงอันตรายต่อผู้บริโภค(Walker, 1964 อ้างถึงในภูมภัสส์ พุทธ์ผดุงวิพลและคณะ, 2559) จากข้อมูลของพิษสบง ดีดวงพันธ์ จรรยา ศรีบุญและธีรนาถ สุวรรณเรืองพบว่าการปนเปือนฟอร์มาลีนในปลาหมึกกล้วยและปลาหมึกยักษ์อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค(พิษสบง ดีดวงพันธ์ จรรยา ศรีบุญและธีรนาถ สุวรรณเรือง, 2562) ฟอร์มาลีนหากได้รับฟอร์มาลีนในปริมาณที่มาก จะส่งผลให้เกิด มะเร็งหลังโพรงจมูก (International Agency for Research on Cancer / IARC) จัดให้สารนี้อยู่ในระดับ 1 ของการเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง (บังอร ฉางทรัพย์, 2558)
ฟอร์มาลีนมีส่วนประกอบหลัก คือ ฟอร์มาลดีไฮด์ 37% ลักษณะเป็นน้ำใส ไม่มีสี กลิ่นฉุนและมีฤทธิ์ระคายเคือง โดยทั่วไปมีไว้เพื่อการฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แต่ในปัจจุบันมีการนำมาใช้ผิดประเภท คือ ใส่ในอาหารโดยเฉพาะพวกอาหารทะเลที่เน่าเสียไว (สหภูมิ ศรีสุมะ, 2559) การที่ใช้ฟอร์มาลีนในการแช่อาหารทะเลนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของปลาหมึก (เพ็ญศรี รอดมาและคณะ, 2534) ฟอร์มาลีนสามารถฆ่าเชื้อด้วยวิธีการทำให้โปรตีนแข็งตัว(นายนกกระจอก, 2553) แตกต่างจากสารฆ่าเชื้อบางชนิดที่ฆ่าเชื้อด้วยวิธีการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย(อารยา ข้อค้า, 2563) เช่น ด่างทับทิม เฮกซะคลอโรฟีน กรดอะซิติก สารกลุ่มฟีนอล(กรวิภา ลิ้มสุวรรณ, 2550) ซึ่งสารกลุ่มฟีนอลนั้น สามารถสกัดได้จากพืชต่างๆ เช่น อัญชัน ดอกทองกวาว ผักหวานป่า ขิง(ภาเกล้า ภูมิใหญ่ละชญาณิศา สุพา, 2561)
อัญชันเป็นพืชล้มลุก ออกดอกเกือบตลอดปี โดยอัญชันดอกสีน้ำเงินจะมีสารแอนโทไซยานิน สารฟลาโวนอยด์ (พิชานันท์, 2557) จากรายงานการวิจัยในปัจจุบันพบว่าพืชสมุนไพรบางชนิด ตัวอย่างเช่น กระเจี๊ยบ อัญชันและสะระแหน่ มีสารฟลาโวนอยด์เป็นส่วนประกอบ (เอนก หาลีและบุณยกฤต รัตนพันธุ์, 2560) ซึ่งสารฟลาโวนอยด์เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอลซึ่งมีสมบัติในการต้านแบคทีเรียโดยสารโพลีฟีนอลจะทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย (วนิดา ชื่นชันและคณะ, 2563) อีกทั้งพืชสมุนไพรเหล่านี้ยังเป็นพืชในท้องถิ่นที่ปลูกและเจริญเติบโตได้ง่าย (พลังเกษตร, 2562)
จากที่กล่าวมาข้างต้น ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาสารสกัดโพลีฟีนอลที่สกัดจากอัญชันในรูปแบบผง เพื่อใช้ยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของปลาหมึกทดแทนการใช้ฟอร์มาลีนในอุตสาหกรรมการประมง