แมงจีซอนยอดนักขุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธัญกร ยันตรศาสตร์, ธีรดนย์ มนัสวิยางกูร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทร์จิรา ชัยอินทรีอาจ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
แมงจีซอน (Gryllotalpidae orientalis) หรือแมงจีซอน เป็นแมลงพื้นบ้านที่พบในภาคเหนือ และอีสานของ ประเทศไทย มีลำตัวยาว 2.8-3 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลอมเหลือง มีหนวดสั้นหนึ่งคู่บริเวณส่วนหัว บริเวณอกมี เปลือกขนาดใหญ่ (protonum) ขนาดราว 1 เซนติเมตร หุ้มกล้ามเน้ือส่วนอกรวมถึงขาทั้ง 3 คู่และปีกหนึ่งคู่ขนาด 1 เซนติเมตร โดยมีลักษณะการเรียงตัวของปีกตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ส่วนอกยาวไปถึงส่วนท้อง (University of Malakand,2017) โดยขาหน้าของมันเป็นกล้ามเน้ือที่แข็งแรงที่สุด และสามารถขุดดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ (University of Florida,1978)
กลุ่มผู้ทำโครงงานมีความสนใจในพฤติกรรมการขุดดินของแมงจีซอน จึงนำแมงจีซอนจำนวนหนึ่งมา เลี้ยงและศึกษาลักษณะการขุด โดยในธรรมชาติแมงจีซอนมักจะขุดดินที่มีลักษณะชุ่มชื้น เล็กน้อย ทางผู้วิจัยจึงได้ เลือกใช้ดินวิทยาศาสตร์ (polyacrylamide) ที่มีลักษณะเหมือนดินแต่โปร่งใส และใช้กล้องความเร็วสูงในการถ่าย วิดีโอขณะแมงจีซอนขุดแล้วนำมาแยกเป็นเฟรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาพฤติกรรม และหาค่าต่างๆ ซึ่ง ลักษณะการขุดที่เฉพาะตัวของแมงจีซอนสามารถนำมาใช้ในงานเชิงวิศวกรรมที่อาจจะเป็นการวางสายไฟ สาย แลน การวางท่อ หรือ การดำเนินงานที่ต้องสร้างช่องว่างภายในดิน