การศึกษาความสามารถในการย่อยสลาย Thermoplastic polyurethane ของ แบคทีเรีย Pseudomonas putida

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กรวรรณ อิงศรีวรกุล, ธัญธนพร จันทร์คุ้ม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยะมาศ เจริญชัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การใช้พลาสติกที่มีส่วนประกอบของพอลิยูรีเทนของผู้คนในปัจจุบันนั้น มีการใช้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเนื่องจากการที่พลาสติกที่มีส่วนประกอบของพอลิยูรีเทนนั้นได้เป็นส่วนประกอบของสิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบันหลายชนิด อย่างการนำไปเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เคสโทรศัพท์ที่ถูกพบในสภาพที่เป็นขยะมากถึง 1.5 ล้านชิ้น โดยในปัจจุบันมีการกำจัดขยะด้วยวิธีหลากหลายวิธีอย่างการนำเข้าโรงงานในการกำจัดขยะด้วยวิธีการเผา และในบางส่วนจะมีการนำไปฝังกลบในสถานที่ต่างๆที่ห่างไกลจากผู้คน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาไม่ว่าจะเป็นต่อพืช สัตว์ หรือคน จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า แบคทีเรีย Pseudomonas putida สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ แต่การนำมาใช้ในการย่อยสลายพลาสติที่มีส่วนประกอบของพอริยูรีเทนนั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและทดลองภายในห้องปฏิบัติการเพียงเท่านั้น คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาความสามารถในการย่อยสลายพลาสติกที่มีพอลิยูรีเทนเป็นส่วนประกอบด้วยแบคทีเรีย Pseudomonas putida เนื่องจากการที่แบคทีเรียชนิดนี้สามารถสร้างเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายสารที่เป็นพอลียูรีเทนได้ดังนั้นจึงนำมาศึกษาในกรณีที่ใช้ในการย่อยพลาสติกพลาสติกที่มีพอลิยูรีเทนเป็นส่วนประกอบอย่าง Thermoplastic polyurethane

โดยเริ่มจากการเตรียมพลาสติกจากเคสโทรศัพท์มือถือที่ทำจาก TPU สำหรับใช้ในการทดลองความสามารถในการย่อยสลาย Thermoplastic polyurethane ของแบคทีเรีย Pseudomonas putida จากนั้นก็ไปทดลองเริ่มด้วยการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการย่อยสลาย Thermoplastic polyurethane ของแบคทีเรีย Pseudomonas putida โดยแบ่งออกเป็นอุณหภูมิและค่า pH ซึ่งคาดว่าอุณหภูมิที่ดีที่สุดจากการทดลองคือ 37 องศาเซลเซียสส่วนค่า pH คือ 6.5 และต่อมาจะทดลองเกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิภาพการย่อยสลาย Thermoplastic polyurethane ของแบคทีเรีย Pseudomonas putida ในสภาวะที่ปัจจัยเหมาะสมเพื่อดูว่าเมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่ได้จากการทดลองก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีประสิทธิภาพในการย่อยมากขึ้นเนื่องจากการที่อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม