ชุดฝึกซ้อมการโยนลูกโกลบอลและจดจำตำแหน่งกีฬาโกลบอล สำหรับผู้พิการทางสายตาด้วยไมโครคอนโทรคอนโทรลเลอร์ และควบคุมด้วยโปรแกรม Arduino
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนาวิทย์ เตชมณีกร, ชาญกิจ สุขสุวรรณวีรี, อภินันท์ ศิริภักดีชัยกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชิตพงษ์ เหนือเกาะหวาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กีฬาโกลบอล เป็นกีฬาสำหรับผู้พิการทางสายตา เริ่มเล่นครั้งแรกใน Paralympic summer game 1972 ที่ประเทศเยอรมนี และถูกบรรจุเป็นกีฬา Paralympic จนถึงปัจจุบัน โครงงานชุดฝึกซ้อมการโยนลูกโกลบอลและจดจำตำแหน่งกีฬาโกลบอลฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถตรวจจับตำแหน่งของลูกโกลบอลที่นักกีฬาผู้พิการโยนเข้ามาว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่และเข้าไปในตำแหน่งใดของโกล และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบตรวจจับตำแหน่งลูกโกลบอลด้วยชุดไมโครคอนโทรลเลอร์ฯ โดยศึกษาความแม่นยำในการตรวจจับตำแหน่งของลูกโกลบอล ศึกษาความเร็วในการส่งสัญญาณเสียงบอกตำแหน่งของลูกโกลบอล และศึกษาความพึงพอใจต่อสิ่งประดิษฐ์โดยขอความร่วมมือจากทางสมาคมกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทยในการทดสอบวัดระดับความพึงพอใจด้วยแบบวัดความพึงพอใจ 5 ระดับ ชุดฝึกซ้อมการโยนลูกโกลบอลและจดจำตำแหน่งกีฬาโกลบอลฯ มีระบบปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์ซึ่งประกอบไว้กับกล่องที่ใส่อยู่ในโครงเหล็กตามตำแหน่งต่าง ๆ โดยมี Ultrasonic sensor และ Laser & LDC เป็นตัวตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกโกลบอลและมี MP3 module & Speaker เป็นตัวส่งสัญญาณเสียงบอกตำแหน่ง โดยใช้โปรแกรม Arduino ในการสร้างชุดคำสั่งในการสั่งการสิ่งประดิษฐ์นี้ จากการศึกษาพบว่า ชุดฝึกซ้อมการโยนลูกโกลบอลและจดจำตำแหน่งกีฬาโกลบอลฯ สามารถตรวจจับตำแหน่งของลูกโกลบอลที่นักกีฬาโยนเข้ามาได้ถูกต้องตามกติกา มีความแม่นยำ 90 เปอร์เซ็นต์ และส่งสัญญาณเสียงบอกตำแหน่งของลูกโกลบอลผ่านไปตามกฎของกีฬาโกลบอลได้โดยแสดงผลทางเสียงด้วยคำว่า “Right corner, Right middle, Center, Left middle, Left corner” เพื่อบอกว่าลูกโกลบอลผ่านตำแหน่งใดของโกล และความเร็วของการประมวลผลเฉลี่ยอยู่ที่ 3 วินาที ซึ่งได้ผลออกมาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก การทดสอบวัดระดับความพึงพอใจต่อสิ่งประดิษฐ์ อยู่ในระดับดี (ระดับ 4)
คำสำคัญ: กีฬาโกลบอล, Arduino, Node MCU, Ultrasonic sensor, Laser, LDC, MP3 module, Speaker