การศึกษาผลของการใช้อาหารเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตแทนต้นสาคูเป็นอาหาร

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุทธิพงษ์ ปราบวงษา, อภิญญา ด่านลี, กัญญาณัฐ ชิณวงษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ถวิล วรรณวงศ์, เนตรนภา บัวเกษ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้อาหารเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตแทนต้นสาคูเป็นอาหาร จึงได้ทำการทดลองเลี้ยงด้วงมะพร้าวโดยให้เปลือกทุเรียนผสมกับอาหาร แบ่งการทดลองออกเป็น 5 ชุดการทดลอง ชุดทดลองละ 3 ซ้ำ ได้แก่ชุดที่ 1 ชุดทดลองที่ได้รับอาหารเลี้ยงด้วงสาคูปกติ(Negative control) ชุดที่ 2 ชุดการทดลองที่ใช้แป้งจากเปลือกของทุเรียนต่อต้นสาคูของอาหารเลี้ยงด้วงสาคูปกติ คือ 1:3 ชุดที่ 3 ชุดการทดลองที่ใช้แป้งจากเปลือกของทุเรียนต่อต้นสาคูของอาหารเลี้ยงด้วงสาคูปกติ คือ 2:2 ชุดที่ 4 ชุดการทดลองที่ใช้แป้งจากเปลือกของทุเรียนต่อต้นสาคูของอาหารเลี้ยงด้วงสาคูปกติ คือ 3:1

ชุดที่ 5 ชุดการทดลองที่ใช้แป้งจากเปลือกทุเรียนแทนต้นสาคูในอาหารเลี้ยงด้วงสาคู คือ แป้งเปลือกทุเรียน:อาหารเลี้ยงสัตว์:เปลือกมะพร้าว:น้ำ ในอัตราส่วน20:1:2:4 คือ10 กิโลกรัม : 500 กรัม : 1 กิโลกรัม : 2ลิตร ตามลำดับ และกากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ

โดยในแต่ละการทดลองที่ทำการเลี้ยงได้ควบคุมน้ำหนักของด้วงงวงมะพร้าวทุกชุดการทดลอง 250 กรัม ซึ่งมีด้วงงวงมะพร้าวเฉลี่ยชุดการทดลองละ 50 ตัว เลี้ยงในกะละมังทึบแสงและฝาปิด ขนาด 50 ซม. ให้มีการเปลี่ยนอาหาร 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ในเวลา 8.00น. เป็นระยะเวลา 4 เดือน แล้วนำมาตรวจวิเคราะห์ โดยวิเคราะห์จากการชั่งน้ำหนักตัวและขนาดของด้วงงวงมะพร้าว 1ครั้งต่อสัปดาห์ โดยสุ่มในแต่ละซ้ำ ซ้ำละ 5 ตัว วัดโปรตีนหยาบโดยใช้วิธีAOAC (Kjeldahl Method) วัดคาร์โบไฮเดรต และพลังงานโดยใช้วิธีคำนวณCalculation เพื่อดูผลต่อการเจริญเติบโต หากการทดลองดังกล่าวสำเร็จ คือ เปลือกทุเรียนมีผลทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้เกษตรเป็นอย่างมาก