การศึกษาผลของการแปรรูปมังคุดให้เป็นผลิตภัณฑ์เยลลี่เปลือกมังคุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พีรพัฒน์ คำกิ่ง, ญาณัฐชิณี คำวงษา, รณิดา ทองตัน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เจตนิพิฐ แท่นทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
มังคุดเป็นผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้และภาคตะวันออก ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษที่สามารถเกิดขึ้นอย่างกระทันหันเเละเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งในงานวิจัยนี้พบว่าสารสกัดจากเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ต้าน oxidation จึงมีศักยภาพที่จะมาพัฒนาเพื่อใช้ในรูปแบบต่างๆให้เข้ากับจุดประสงค์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงต่างๆ เป็นต้น ในงานวิจัยนี้เราจะนำสารสกัดที่ได้มาพัฒนาให้สามารถยับยั้งหรือบรรเทาอาการจากภาวะอาหารเป็นพิษ โดยอยู่ในรูปแบบการรับประทาน เเละให้อยู่รูปเเบบผลิตภัณฑ์อย่าง " เจลลี่ " เพื่อให้สามารถทานง่ายต่อทุกเพศทุกวัย ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา 3 ตัวเเปร ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย อุณหภูมิ และ เวลาที่ใช้ในการสกัด โดยใช้น้ำ 100% ศึกษาในอุณหภูมิ 4 ระดับช่วง 35°C 40°C 50°C เเละ 60°C ในช่วงเวลา 30 และ 60 นาที ในอัตราส่วนของแข็งต่อของเหลวที่ 1:25g/ml โดยสารสกัดจากเปลือกมังคุดถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ได้เเก่ ปริมาณสารสกัดแห้ง ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณของสารประกอบฟีนอลิก อัตลักษณ์ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุดด้วยเทคนิค TLC การวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิก นอกจากนี้ยังทำการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH เเละฤทธิ์ในการยับยั้งเเบคทีเรีย S.aureus จากการทดลองพบว่า การสกัดสารจากเปลือกมังคุดด้วยตัวทำละลายที่เป็นน้ำ 100% ที่อุณหภูมิ 60°C เป็นเวลา 30 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารมากที่สุด ทำให้พบว่ามีสารที่สามารถยับยั้งเเบคทีเรีย S.aureus เเละยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH ได้อีกด้วย ด้วยสาเหตุนี้สารสกัดจากเปลือกมังคุดสามารถที่จะนำมาประยุกต์เเละพัฒนาในด้านผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิวพรรณ ยาทารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น เเละยังสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้