ถังขยะไร้กลิ่นจากผลของการยับยั้งแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์โดยจุลินทรีย์EM และกากน้ำตาลที่ออกฤทธิ์เป็นกรด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เมธาสิทธิ์ แจ้งศรี, พิชิตชัย จันทบุญ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กฤษฎารัตน์ เครื่องชนะ, เบญญพร พัฒน์เจริญ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันคนในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงการแยกขยะให้ถูกประเภทและการทิ้งขยะให้ลงถัง ส่งผลให้ขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ถูกทิ้งรวมไปอย่างไร้ประโยชน์ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ที่สูงที่สุดรวมไปถึงการทิ้งขยะอันตรายโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบอาจทำให้สารเคมีรั่วไหลและทำอันตรายแก่ผู้คนได้ การทิ้งขยะเปียกก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ และขยะพลาสติกก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์จากการรีไซเคิลได้ ซึ่งขยะหลายๆประเภทสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หากเราให้ความสนใจในการแยกขยะให้ถูกประเภทแต่จะส่งผลเสียหากเราไม่สนใจในปัญหานี้ซึ่งทำให้เกิดปัญหาหลายๆอย่างตามมา เช่น การเกิดแก๊สเสียจากกลิ่นขยะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและการสัมผัสขยะอันตรายที่อาจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันเป็นต้น

ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาการดับกลิ่นขยะโดยเชื้อจุลินทรีย์เนื่องจากน้ำยาดับกลิ่นที่มีการจัดจำหน่ายในปัจจุบันมีราคาที่สูงและมีการใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบเป็นหลักซึ่งคณะผู้จัดทำให้ความสนใจถึงความสำคัญในการนำขยะมาใช้ประโยชน์ซึ่งการใช้สารเคมีนั้นจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม คณะผู้จัดทำจึงศึกษาจุลินทรีย์ EM (Effecttive microorganisms) ในการมาใช้ดับกลิ่นขยะ และมีการคิดค้นนวัตกรรมถังขยะที่สามารถเปิด-ปิด โดยระบบsensorเพื่อลดการสัมผัสเชื้อโรคและแบคทีเรียบนฝาถัง มีระบบพ่นเชื้อจุลินทรีย์ EM ที่คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาเพื่อดับกลิ่นภายในถังขยะ และรูปแบบของถังขยะมีความสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น