ผลบวกของลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ศรีณยา จันทรศาล, ปิยกานต์ โอทอง, ณิชกานต์ ควนวิไล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เกวลิน เสน่หา, บัญชา เก้าเอี้ยน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ที่มาและความสำคัญ

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์

คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ

ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552: 1)

จากประสบการณ์ในการเรียนรู้และการทำโจทย์คณิตศาสตร์ บ่อยครั้งจะเจอโจทย์เกี่ยวกับการ

หาผลบวกของลำดับต่าง ๆ เช่น

-จงหาผลบวกของลำดับ 1, 2, 3, 4, 5, …, 10

-จงหาผลบวกของ 2, 4, 8, 10, 12, …, 40

-จงหาผลบวก 40 พจน์แรกของลำดับ 2, 6, 10, 14, 18, … หรือ

-จงหาผลบวกของ 6+9+12+15+…+99 เป็นต้น

ซึ่งการหาผลบวกของลำดับดังกล่าวสามารถหาได้โดยการพิจารณาว่าลำดับที่กำหนดให้เป็นลำดับ

เลขคณิตหรือลำดับเรขาคณิต หลังจากนั้นก็ใช้สูตรในการหาผลบวกของลำดับเลขคณิตหรือลำดับเรขาคณิตตามลำดับ นอกเหนือจากลำดับเลขคณิตและลำดับเรขาคณิตแล้วยังมีลำดับอื่น ๆ อีก เช่น ลำดับฟีโบนักชี

ถ้าหากเราสังเกตดอกไม้รอบ ๆ ตัวเรา จะเห็นว่าดอกไม้ส่วนใหญ่มีจำนวนกลีบเป็น 1 กลีบ (ดอกหน้าวัว)

2 กลีบ (ดอกโป๊ยเซียน) 3 กลีบ (ดอกเฟื่องฟ้า) 5 กลีบ (ดอกแพงพวย) 8 กลีบ (ดอกดาวกระจาย) 13 กลีบ (ดอกบัวตอง) 21 กลีบ (ดอกเดซี่) และ34 กลีบ (ดอกเดซี่) จะเห็นถึงความสอดคล้องระหว่างธรรมชาติกับคณิตศาสตร์ เมื่อมาเขียนเรียงกันก็จะได้ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, … ซึ่งเป็นลำดับฟีโบนักชีนั่นเอง โดยที่สองพจน์แรกคือ 1 และ 1 ส่วนพจน์ถัดมาในลำดับนี้เป็นผลบวกของพจน์ที่อยู่ติดกันก่อนหน้า จากลำดับ

ฟีโบนักชีดังกล่าวไม่สามารถหาผลบวกโดยใช้สูตรการหาผลบวกของลำดับเลขคณิตหรือลำดับเรขาคณิตได้

ทางผู้จัดทำจึงสนใจศึกษาการหาผลบวกของลำดับฟีโบนักชีขึ้น และในทำนองเดียวกันถ้าอาศัยหลักการสร้างของลำดับฟีโบนักชีมาสร้างลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี โดยที่สองพจน์แรกไม่ใช่ 1 และ 1 สามารถสร้างลำดับต่าง ๆ ได้อีกมากมาย เช่น 4, 6, 10, 16, …, 68 หรือ 9, 25, 34, 59, 93, 152, 245 แล้วจะมีวิธีการหาผลบวกของลำดับดังกล่าวได้อย่างไร โดยไม่ต้องนำจำนวนทั้งหมดมาบวกกันโดยตรง และทำให้หาผลบวกได้รวดเร็วขึ้น

ผู้จัดทำจึงสนใจทำโครงงาน เรื่อง ผลบวกของลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี นี้ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและหาคำตอบของลำดับดังกล่าวข้างต้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาการหาผลบวกของลำดับฟีโบนักชี

  2. เพื่อหาผลบวกของลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผลจากการดำเนินโครงงานครั้งนี้ ทำให้มีความรู้เรื่องการหาผลบวกของลำดับและสามารถหาผลบวกของลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชีได้

ขอบเขตการศึกษา

ผลบวกของลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชีจะศึกษาลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี กรณีที่เป็นจำนวนเต็มบวก

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. ลำดับฟีโบนักชี

    1.1 ประวัติจำนวนฟีโบนักชี

1.2 ความหมายของลำดับฟีโบนักชี

1.3 ลำดับฟีโบนักชีในธรรมชาติ

  1. ลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี

  2. การให้เหตุผลแบบอุปนัย

  3. การพิสูจน์โดยหลักการอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์

วิธีดำเนินการ

  1. ศึกษาเกี่ยวกับลำดับฟีโบนักชีและลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี ดังนี้

ลำดับฟีโบนักชี (Fibonacci sequence) คือ ลำดับ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, … ซึ่งสอง

จำนวนแรก คือ 1 กับ 1 จำนวนอื่นๆ คือ ผลบวกของจำนวน 2 จำนวนติดกันที่อยู่ก่อนหน้าจำนวนนั้น

นั่นคือ ลำดับฟีโบนักชี โดย และ

เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0

ลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี คือ ลำดับที่มีลักษณะและหลักการสร้าง ดังนี้

เมื่อ เป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 สองจำนวนแรกเหมือนกัน สามารถแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

1)สองจำนวนแรกเหมือนกัน แบบ จำนวนคู่, จำนวนคู่

  1. สองจำนวนแรกเหมือนกัน แบบ จำนวนคี่, จำนวนคี่

กรณีที่ 2 สองจำนวนแรกต่างกัน สามารถแบ่งเป็น 4 แบบ ได้แก่

1)สองจำนวนแรกต่างกัน แบบ จำนวนคี่, จำนวนคี่

2)สองจำนวนแรกต่างกัน แบบ จำนวนคู่, จำนวนคู่

3)สองจำนวนแรกต่างกัน แบบ จำนวนคู่, จำนวนคี่

4)สองจำนวนแรกต่างกัน แบบ จำนวนคี่, จำนวนคู่

2.ศึกษาการหาผลบวกของลำดับฟีโบนักชี

3.หาผลบวกของลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี ดังนี้

3.1กรณีที่ 1 สองจำนวนแรกเหมือนกัน สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 แบบ

3.1.2สองจำนวนแรกเหมือนกัน แบบ จำนวนคี่, จำนวนคี่ เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ

3.2กรณีที่ 2 สองจำนวนแรกต่างกัน สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 4 แบบ

3.2.2สองจำนวนแรกต่างกัน แบบ จำนวนคู่, จำนวนคู่ เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ

4.หาผลบวกของลำดับที่มีรูปแบบคล้ายลำดับฟีโบนักชี กรณีที่จำนวนไม่เรียงติดกัน

5.พิสูจน์โดยใช้อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์