นวัตกรรมวัสดุบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้เส้นใยข้าวโพดช่วยสิ่งแวดล้อมปราศจากมลพิษทางน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สมัญญา ตั้งจิรสกุล, ธญพร ขาวสุวรรณ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ดวงกมล เกลี้ยงแก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

นวัตกรรมวัสดุบําบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยเส้นใยข้าวโพด ช่วยสิ่งแวดล้อมปราศจากมลพิษทางน้ำ

( Innovative wastewater treatment materials from industrial plants by corn stover fibers Help the environment without water pollution )

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ดูดซับโลหะหนักจากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้ Carboxymethyl cellulose ของเส้นใยข้าวโพด เนื่องจากในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมมีการปล่อยสารพิษและของเสียลงมาสู่แหล่งน้ำซึ่งส่วนใหญ่คือโลหะหนัก จึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้บําบัดน้ำเสียโดยใช้เส้นใยจากข้าวโพด โดยเลือกใช้วิธีการดูดซับโดยใช้วัสดุจากพอลิเมอร์ชีวภาพ โดยนําเซลลูโลสของข้าวโพดนําไปสังเคราะห์เป็นอนุพันธ์เซลลูโลส ซึ่งก็คือ Carboxymethyl cellulose ซึ่งเมื่อนํามาสังเคราะห์เป็นไฮโดรเจลซึ่งเป็นตัวดูดซับสารเคมีที่มีประจุปนเปื้อนในน้ำเสียได้ดี เนื่องจากเส้นใยข้าวโพดมีเซลลูโลส 34.29±0.03% จึงเพียงพอต่อการนำมาสังเคราะห์เพื่อที่จะนำไปใช้บำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยข้าวโพดทั้งยังมีเซลลูโลสแล้วยังเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร