ประสิทธิภาพการดูดซับสีย้อมรีแอคทีฟในสารละลาย ของแผ่นกรองเส้นใยจากก้านบัว โดยใช้น้ำยางพาราธรรมชาติเป็นตัวประสาน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุวพิชญ์ คำโสภา, ศศิวิมล พันพลอย, ธนารีย์ พลนิกาย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ลิขิต จิตโส

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชุมแพศึกษา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมสิ่งทอในระดับครัวเรือนก่อให้เกิดน้ำทิ้งปริมาณมากที่ปนเปื้อนสีย้อมที่เหลือจากการย้อมติดเส้นใยของผ้า โดยเฉพาะน้ำเสียจากกระบวนการฟอกย้อมในชุมชนยังมีข้อจำกัดด้านความรู้และผลกระทบที่เกิดขึ้นในการบำบัดน้ำเสียจากการฟอกย้อมที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ชุมชนไม่ได้มีการใส่ใจเท่าที่ควรในการกำจัดสีย้อมก่อนปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในแหล่งน้ำ และการอุปโภคของคนในชุมชนเอง ซึ่งวิธีการบำบัดที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดใหญ่มีหลายวิธี ทั้งวิธีที่ต้องใช้สารเคมีและเทคโนโลยีที่มีต้นทุนสูง เช่น การตกตะกอนด้วยสารเคมี (Chemical precipitation) การแยกด้วยเทคนิคแมมแบรน (Membrane separation) การบำบัดทางชีวภาพ (Biological treatments) กระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูง (Advanced oxidation processes) การเกิดคาวิเตชันและการเผา (Cavitation and incineration) และการดูดซับ (Adsorption) กระบวนการบำบัดสีย้อมที่จัดว่าเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง คือ การดูดซับ โดยวัสดุดูดซับที่ดีนั้นควรมีสมบัติในการดูดซับสารมลพิษที่ต้องการกำจัดได้ โครงสร้างที่มีรูพรุนสามารถนามาใช้ประโยชน์ทำหน้าที่ดูดซับสารอินทรีย์ได้และประสิทธิภาพจะสูงขึ้น เช่น ผักตบชวา ชานอ้อย และฟางข้าว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีการพัฒนาตัวดูดซับสีย้อมจากเส้นใยก้านบัว ซึ่งเป็นวัชพืชที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำทั่วไป และ มีลักษณะทางกายภาพที่สามารถทำเป็นเส้นใยได้ จากเหตุผลข้างต้นทีมผู้พัฒนาจึงมีความสนใจในการพัฒนาตัวดูดซับสีย้อมจากเส้นใยก้านบัว เพื่อนำไปประยุกต์เป็นแผ่นกรองเส้นใยก้านบัวโดยใช้ น้ำยางพาราธรรมชาติเป็นตัวประสาน เพื่อให้ได้วัสดุที่มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสีย้อมรีแอคทีฟ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้บำบัดน้ำทิ้งจากกระบวนการย้อมผ้าในชุมชน ก่อนที่จะลงปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ทำให้ช่วยลดการ ก่อปัญหามลภาวะทางน้ำได้อีกทางหนึ่ง

คำสำคัญ : ก้านบัว (Lotus stalk) ; การดูดซับ (Adsorption) ; สีย้อมรีแอคทีฟ (Reactive Dyes)