แผ่นดูดซับแรงกระแทกจากไส้ในมันสำปะหลัง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อริศรา แสนศรี, นัฐสิน ลุนตีบ, รุ่งตะวัน ลาภแวง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พีรดลย์ อ่อนสี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัญหาขยะในเมืองไทย เป็นปัญหายังไม่สามารถแก้ไขให้มีการลดปริมาณลงได้ เป็นเวลาหลายสิบปีที่เจ้าหน้าที่ทางราชการ หน่วยงานวิจัย สถาบันทางการศึกษา พยายามหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาในส่วนของขยะได้เลย ปี 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 27.8 ล้านตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเกษตรกรรมสู่สังคมเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากร การส่งเสริมการท่องเที่ยว การบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยในหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น (กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2562) โดยเฉพาะปัญหาขยะจากโฟมที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันเราจะเห็นผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานส่วนใหญ่มาจากโฟมเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณของขยะที่เกิดจากโฟมสูงขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้จะมีการรณรงค์ให้มีการนำ โฟมกลับมาใช้ใหม่แต่ขยะที่เกิดขึ้นก็ยังมีจำนวนมากและเป็นที่มาของมลพิษต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายได้ในธรรมชาติมากขึ้น
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่นเป็นพืชที่ทนต่ออากาศแห้งแล้ง และแปรปรวนได้ดี สามารถเจริญเติมโตได้ดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อายุการเก็บเกี่ยวก็สามารถยืดหยุ่นได้ กล่าวคือสามารถทิ้งหัวมันสำปะหลังไว้ที่ดินรอจนกว่าราคาจะดีตามความต้องการ หรือจนกว่าจะมีราคาเพียงพอ ซึ่งอาจจะชะลอการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 – 14 เดือน โดยทำให้หัวมีคุณภาพลดต่ำลงมากนัก และการปลูกมันสำปะหลังให้ผลตอบแทนค่อนข้อนสูงเปรียบกับพืชชนิดอื่น จงทำให้เกษตรกรนิยมปลูกกันอย่างกว้างขวางพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังพบทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ ภาคที่มีการปลูกมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 54.5) รองลงมา คือ ภาคกลาง (ร้อยละ 25.6) และภาคเหนือ (ร้อยละ 19.9) พื้นที่รวม 48 จังหวัด คิดเป็นพื้นที่ปลูกประมาณ 7.9 ล้านไร่ ผลผลิตรวมกว่า 30.23 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2556จังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญ ได้แก่ นครราชสีมา กำแพงเพชร กาญจนบุรี สระแก้วนครสวรรค์ ชัยภูมิ เนื้อที่เพาะปลูกของ 6 จังหวัดนี้ เมื่อรวมกันแล้ว มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ (สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2558)
จากการสังเกตของผู้ทดลองพบว่าในลำต้นของมันสำปะหลังมีไส้ในที่มีลักษณะรูพรุนขนาดใหญ่และมีความยืดหยุ่น มีลักษณะคล้ายกับโฟมที่มีความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกได้ดี ดังนั้นผู้ทดลองจึงได้นำไส้มันสำปะหลังมาเสร้างเป็นแผ่นดูดซับแรงกระแทก