ผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีต่อผักบุ้งจีน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

บัณฑิตา สุวรรณไตรย์, บุญญารัสมิ์ ภูดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สมคิด รูปเหมาะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาผลของสนามแม่เหล็กต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะผลต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของพืช ได้มีการศึกษาวิจัยกันพอสมควรเริ่มจาก Savostin (1930)

ได้ศึกษาการเพิ่มการยืดยาวของต้นข้าวสาลีโดยใช้สภาวะการปลูกที่มีสนามแม่เหล็กโดยทั่วไปการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในสภาพที่มีสนามแม่เหล็กได้มีการศึกษาและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก เช่น Dayal and Singh (1986), Pietruszewski (1993)ได้ศึกษาการเพาะเมล็ดในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพบว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเร่งการเจริญเติบโตความสูงต้นกล้าของมะเขือเทศ ขณะที่Aladjadjiyan พบว่าการเพาะเมล็ดข้าวโพดในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กขนาด 150 mT

กระตุ้นการงอก การเจริญเติบโต และความยาวของยอดและเพิ่มน้ำหนักสด เช่นเดียวกับ Yinan

(2005)สำหรับการทำการเกษตรสมัยใหม่นั้นเป็นการใช้เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตเจริญเติบโตทั้งกิ่งก้านใบ เช่นการอาบสนามแม่เหล็กก่อนหว่านเมล็ดช่วยให้เมล็ดมีการงอกและการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นการทำให้เมล็ดข้าวและหอมหัวใหญ่หัวได้รับคลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มต่ำเป็นเวลา 12ชั่วโมงทำให้งอกเร็วขึ้น (Alexander,1995) และ Harichand (2002)ก็พบว่าการให้เมล็ดได้รับคลื่นสนามแม่เหล็กขนาด 10 mT นาน 40ชั่วโมงช่วยเพิ่มความสูงของต้น น้ำหนักราก และผลผลิตของผลและต้น จากนั้น รัศมี คำหล้า(2015) ได้ศึกษาการอาบสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้ากับเมล็ดข้าวแดงพบว่าช่วงเวลาอาบและค่าที่เหมาะสมที่สุด คือ 10 นาทีและ 1 kV/mจากความสำคัญและบทบาทของการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการส่งเสริมการงอกและการเจริญเติบโตของพืชหลายๆชนิดข้างต้น

งานวิจัยครั้งนี้จึงได้ศึกษาได้ศึกษาผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่อการงอกของเมล็ดการเจริญเติบโตของต้นกล้า และผลผลิตของผักบุ้งจีนซึ่งถือเป็นพืชที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่เกษตร และมีคุณประโยชน์อย่างล้นหลาม