การศึกษาความยาวขาของจิงโจ้น้ำที่มีผลต่อแรงดึงผิวของน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นราวิชญ์ เวชทัพ, กษิตินาถ เสระพล, เเอปซาร่า รีเตอร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ธิติ เพียรโคตร, นภาพร เทียมทะนง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยาวขาและองศาการวางขาของจิงโจ้น้ำขณะยืนบนผิวน้ำ

และเพื่อศึกษาแรงดึงผิวของน้ำที่กระทำกับจิงโจ้น้ำ

โดยทำการจับจิงโจ้น้ำจากแหล่งน้ำบริเวณรอบโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ศึกษาความยาวขาและองศาการวางขาของจิงโจ้น้ำขณะยืนบนผิวน้ำ สังเกต

และบันทึกภาพการลอยตัวบนผิวน้ำในมุมด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง และด้านบนของจิงโจ้น้ำ

และส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ พร้อมกับวัดขนาดของขาแต่ละปล้องโดยใช้โปรแกรม

ToupView และหาขนาดมุมของขาแต่ละปล้องที่กางโดยใช้โปรแกรม Tracker และชั่งมวลจิงโจ้น้ำ

พร้อมกับวัดความยาวของขาปล้องที่ 3 และ 4 นำข้อมูล มาคำนวณหาแรงดึงผิวของน้ำที่กระทำต่อจิงโจ้น้ำ

ผลการทดลองพบว่าจิงโจ้น้ำมีความยาวเฉลี่ยขาคู่หน้า ปล้องที่ 1 ยาว 0.23 mm ปล้องที่ 2 ยาว 0.20 mm

ปล้องที่ 3 ยาว 0.04 mm ปล้องที่ 4 ยาว 0.08 mm ขาคู่กลาง ปล้องที่ 1 ยาว 0.67 mm ปล้องที่ 2 ยาว 0.39 mm

ปล้องที่ 3 ยาว 0.19 mm และขาคู่หลัง ปล้องที่ 1 ยาว 0.66 mm ปล้องที่ 2 ยาว 0.22 mm ปล้องที่ 3 ยาว 0.12

mm จากผลการทดลององศาการวางขาของจิงโจ้น้ำพบว่าองศาของขาปล้องที่ 1 กับปล้องที่ 2

จะกางออกเพื่อกระจายแรง แต่องศาของขาปล้องที่ 3 ที่กางออกจากปล้องที่ 2

จะกางให้อยู่ในแนวระนาบกับพื้นผิวของน้ำเพื่อให้เส้นขนบริเวณขาได้สัมผัสกับน้ำ

ช่วยให้เกิดแรงต้านและการกระจายน้ำหนักบนผิวน้ำได้ดี จากผลการทดลองสรุปได้ว่าจิงโจ้น้ำตัวที่ 4

มีค่าแรงดึงผิวของน้ำที่กระทำกับจิงโจ้น้ำมีค่ามากที่สุด คือ 0.02041 N รองลงมาคือจิงโจ้น้ำตัวที่ 3 คือ

0.01962 N ตัวที่ 2 คือ 0.01952 N และสุดท้ายตัวที่ 1 คือ 0.01787 N เนื่องจากจิงโจ้น้ำตัวที่ 4

มีความยาวขามากกว่าจิงโจ้น้ำตัวที่ 3 2 และ 1 ตามลำดับ

พบว่าค่าแรงดึงผิวของน้ำจะแปรผันตรงกับความยาวขาของจิงโจ้น้ำที่สัมผัสน้ำ เป็นไปตามสมการ F=γ×2l

เมื่อกำหนดค่า γ = 0.072 N/m

และจากการทดลองพบว่าจิงโจ้น้ำทุกตัวที่ทำการทดลองมีน้ำหนักน้อยกว่าแรงดึงผิวของน้ำ

จึงทำให้จิงโจ้น้ำสามารถยืนและเคลื่อนที่บนผิวน้ำได้โดยไม่จม