การศึกษาประสิทธิภาพของสาหร่าย Spirulina plantensis และ สาหร่าย Phormidium sp. ที่ตรึงในวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นที่มีผลต่อการบำบัดน้ำเสียหน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ(ร่องน้ำฝั่งตะวันตก ถ.มหิดล)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เบญญาดา มาวิน, วทัญญุตา มอยแก้ว, ปาณิสรา อุส่าเงี้ยว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บุศรา ปาระมี, ภูมิศร์ ทับทิมแดง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสำรวจ ตรวจวัด และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ของคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพและชีวภาพในร่องระบายน้ำฝั่งทิศตะวันตกของถนนมหิดล 6 จุด
เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ S. platensis และ Phromidium sp ในการบำบัดน้ำเสียในสภาพห้องปฏิบัติการ
3.เพื่อศึกษาวิธีการตรึง S. platensis และ Phromidium sp. ในวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น
4.เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ S. platensis และ Phromidium sp. ที่ตรึงในวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นในการบำบัดน้ำเสีย ในสภาพห้องปฏิบัติการ
5.เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ S. platensis และ Phromidium sp. ที่ตรึงในวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นในการบำบัดน้ำเสีย ในร่องระบายน้ำฝั่งทิศตะวันตก ของถนนมหิดล 6 จุด
โครงงานนี้มีวิธีการทดลอง คือ เริ่มจากการเพาะเลี้ยงสาหร่ายspirulina และสาหร่ายPhormidium sp. เมื่อเพาะเลี้ยงแล้วนำสาหร่ายทั้งสองไปตรึงกับวัสดุยึดที่ต้องการศึกษา ได้แก่ ใยบวบ แกนข้าวโพดและลำต้นผักตบชวา เพื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียโดยแบ่งเป็น 3 ชุดการทดลองได้แก่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพของสาหร่ายเกลียวทอง สาหร่าย Phromidium sp. และสาหร่ายเกลียวทองร่วมกับสาหร่าย Phromidium sp. ในการบำบัดน้ำเสีย 2)การศึกษาสาหร่ายเกลียวทอง สาหร่าย Phromidium sp. และสาหร่ายเกลียวทองร่วมกับสาหร่าย Phromidium sp.ในการตรึงกับวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น และ3)การศึกษาประสิทธิภาพของสาหร่ายเกลียวทอง สาหร่าย Phromidium sp. และสาหร่ายเกลียวทองร่วมกับสาหร่าย Phromidium sp.ที่ตรึงในวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น ที่ทดลองในแหล่งน้ำสาธิต เมื่อตรึงเสร็จแล้วจึงนำชุดการทดลองไปทดลองในบ่อน้ำสาธิตและเก็บผลการทดลองเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพว่าชุดการทดลองชนิดใดมีประสิทธิภาพสูงสุด