การศึกษาการเลี้ยงหนอนไม้ไผ่ (Omphisa fuscidenttalis Hampson) ด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์แบบโอเพนซอร์ส เพื่อย่นระยะเวลาในการเจริญเติบโต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เสาวภาคย์ ลิ่มดุลย์, เกศริน สัตย์สม, ฉัตรกมล เทศจำปา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บุศรา ปาระมี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเขียนโค้ดโปรแกรมและสร้างกล่องปิดเลี้ยงหนอนไม้ไผ่ 2) เพื่อศึกษาและย่นระยะเวลาในการเลี้ยงเลี้ยงหนอนไม้ไผ่นอกฤดูการตามธรรมชาติ 3) เพื่อศึกษาชนิดของอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดของหนอนไม้ไผ่ 4) เพื่อศึกษาสภาพที่อยู่อาศัยภายในกล่องที่มีผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดของหนอนไม้ไผ่ 5) เพื่อขยายผลการศึกษาไปสู่ประชาชน ที่มีความสนใจและต้องการจะสร้างรายได้
โครงงานนี้มีวิธีการทดลอง คือ สร้างกล่องปิดที่มีการติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ปรับสภาพแวดล้อม จากนั้นทำการศึกษาชนิดของอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดของหนอนไม้ไผ่ โดยนำหนอนไม้ไผ่มาชั่งน้ำหนักก่อนจะนำมาเลี้ยงในอาหารแต่ละชนิด ได้แก่ หน่อไม้ กาบมะพร้าว และนม เป็นระยะเวลาตลอด 1 เดือน เมื่อครบตามเวลานำหนอนที่ได้มาชั่งน้ำหนักเพื่อหาอัตราการเจริญเติบโต ซึ่งการทดลองนี้จะทำควบคู่ไป พร้อมกับการศึกษาสภาพที่อยู่อาศัยภายในกล่องที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตที่ดีที่สุดของหนอนไม้ไผ่ โดยจะนำหนอนไม้ไผ่มาอาศัยอยู่ในกล่องปิด ที่ทำการติดตั้งเครื่องมือเพื่อปรับสภาพแวดล้อม ซึ่งแต่ละกล่องจะแตกต่างกันได้แก่กล่องที่หนึ่งให้หนอนไม้ไผ่อยู่ในกล่องโดยไม่มีสิ่งจำลองสภาพที่อยู่อาศัย กล่องที่สองจะใส่ท่อ PVC เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมให้เหมือนกับการอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ และกล่องสุดท้ายจะใส่กระบอกไม้ไผ่ แต่ละการทดลองทำซ้ำทั้งหมด 3 ครั้งและเปลี่ยนชนิดของอาหารและสภาพที่อยู่อาศัย เพื่อที่จะทราบชนิดของอาหารและสภาพที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมแก่หนอนไม้ไผ่