การศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดหยาบจากใบพลูและใบหนานเฉาเหว่ยในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของแพงพวย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เบญจรัตน์ เพชรรัตน์, อัญชิการ์ อโรร่า
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดลดนัย บรรจง, วาสนา คำเทพ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจ ตรวจหา และแยกเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าจากดินบริเวณรอบ ๆ รากของต้นแพงพวย และ2) ทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดหยาบใบพลูและใบหนานเฉาเหว่ย ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของแพงพวย โดยมีวิธีการทดลอง คือ เก็บตัวอย่างดินบริเวณรอบรากนำมาแยกหาเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของแพงพวยจากนั้น แยกเชื้อราสาเหตุโรคโดยใช้เทคนิค baiting technique และทำการเลี้ยงเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าในอาหาร PDA เป็นเวลา 5 วัน สังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อราผลการทดลองพบว่า การแยกเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของแพงพวยด้วยใช้วิธีการ baiting technique สามารถแยกเชื้อรา Pythium sp. และ เชื้อรา Phytopthora sp. ได้ พบการสร้างสปอร์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศเรียกการสร้างสปอร์ดังกล่าวว่า oospore และ sporangium โดยประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา Pythium sp. ของสารสกัดจากใบหนานเฉาเหว่ยสามารถยับยั้งได้ที่ความเข้มข้น 500 และ 1,000 ppm โดยสามารถยับยั้งได้ 18.5 และ 54.5 เปอร์เช็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบพลูสามารถยับยั้งได้ที่ความเข้มข้น 500 และ 1,000 ppm โดยสามารถยับยั้งได้ 65.0 และ 100.0 เปอร์เช็นต์ ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา Phytopthora sp. ของสารสกัดจากใบหนานเฉาเหว่ยสามารถยับยั้งได้ที่ความเข้มข้น 500 และ 1,000 ppm โดยสามารถยับยั้งได้ 40.5 และ 63.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สารสกัดจากใบพลูสามารถยับยั้งได้ที่ความเข้มข้น 500 และ 1,000 ppm โดยสามารถยับยั้งได้ 27.0 และ 60.5 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ