การศึกษาวัสดุกันกระแทกจากน้ำยางพาราขี้เลื่อยและแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อันนา รัตนนท์, วรรัตน์ กงเกตุ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชราภรณ์ แสนนา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1.) เพื่อผลิตวัสดุกันกระแทกจากวัสดุชีวภาพ 2.) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุกันกระแทกชีภาพกับวัสดุกันกระแทกตามท้องตลาด ทำการทดลองโดย 1. เตรียมขี้เลื่อยโดยการการปรับสภาพผิว นำขี้เลื่อยไปแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น ร้อยละ 1 น้ำหนัก/ปริมาตร แล้วนำไปกวนเป็นเวลา 18 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง หลังจากนั้น นำมาล้างด้วยน้ำกลั่นจนหมดด่างแล้วล้างด้วยอะซิโตน นำไปทำให้แห้งด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส และเก็บในเดซิเคเตอร์ 2. การขึ้นรูปขี้เลื่อยและแคลเซียมคาร์บอเนตโดยมีน้ำยางพาราเป็นสารเชื่อมประสาน โดยผสมน้ำยางเข้ากับขี้เลื่อยและแคลเชียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่ในอัตราส่วน 60 : 10 : 20 เติมเอทานอล 10 หยดและกรดอะซิติก 10 หยด ผสมให้เข้ากันเทใส่พิมพ์ รอให้แห้ง
นำแผ่นวัสดุที่แห้งแล้วไปอบที่อุณหภูมิ 100 องศา นำแผ่นวัสดุมาเชื่อมเป็นกล่องทดสอบคุณสมบัติและบันทึกผล
ผลที่ได้จากการทดสอบความยืดหยุ่นพบว่าวัสดุกันกระแทกจากน้ำยางพารา ขี้เลื่อย และแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่ มีความสามารถในการทนแรงดึงได้ 100 N เท่ากันกับกล่องพัสดุ แต่ระยะที่ยืดได้ของวัสดุกันกระแทกจากน้ำยางพารา ขี้เลื่อยและแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่มีระยะที่ยืดได้มากกว่ากล่องพัสดุ และผลการทดสอบประสิทธิภาพการกันแรงกระแทกพบว่าในความสูงที่ 3.5 เมตร ไข่ในวัสดุทั้งสองชนิดไม่แตก ในความสูงที่ 7 เมตรพบว่าไข่ในวัสดุกันกระแทกจากน้ำยางพารา ขี้เลื่อยและแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่ไม่แต่ แต่ไข่ในกล่องพัสดุแตก และในความสูงที่ 10.5 เมตร พบว่าไข่ในวัสดุทั้งสองแตก
จากการศึกษาวัสดุกันกระแทกจากน้ำยางพารา ขี้เลื่อยและแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่ พบว่ามีความยืดหยุ่นมากกว่ากล่องพัสดุและสามารถรับแรกกระแทกได้ดีกว่ากล่องพัสดุ
คำสำคัญ : วัสดุกันกระแทก,ความยืดหยุ่น