การศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการฟอกฆ่าเชื้อผิว และเปรียบเทียบปริมาณฮอร์โมนในอาหารเพาะเลี้ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดองดึงในจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อการอนุรักษ์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐธิดา ยิ่งดี, ชนการต์ ทวีสินวัฒนเดชา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เกียรติศักดิ์ บุตรสุด, ภานุพงศ์ ปราบหนองบัว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ดองดึง หรือ Gloriosa Superba L. แม้ในอดีตจะสามารถพบได้ในหลายพื้นที่ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันกลับเป็นพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ และชิ้นส่วนหรือไรโซมที่นำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปลอดเชื้อนั้นอยู่ใต้ดิน ทำให้หลังจากการฟอกแล้วสามารถเกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าพืชชนิดอื่นที่อยู่เหนือดิน เพราะใต้ดินมีเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียและสารเคมีเป็นจำนวนมาก โครงงานนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตของดองดึงหลังจากนำไปฟอกฆ่าเชื้อผิวในสารละลาย Clorox ที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันได้แก่ 15% 20% 25% และ 30% นาน 15 นาที 2 รอบ จากนั้นบันทึกผล นำชิ้นส่วนที่ไม่มีการติดเชื้อไปเลี้ยงต่อในอาหารสูตร MS ที่เติมฮอร์โมนพืช 2,4-D BAP NAA และ kinetin ในปริมาณที่แตกต่างกัน เพื่อหาสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดองดึงในห้องปลอดเชื้อ ในห้องที่อุณหภูมิ 25 2 องศาเซลเซียส จากนั้นบันทึกการเจริญเติบโต ได้แก่ ความยาวราก ความยาวลำต้น และจำนวนใบ