การเสริมประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ด้วยสาร สกัดจากสมุนไพร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เพ็ญวัสสา แสงเย็นพันธุ์, ธัญวรัตน์ ทองโพธิ์ศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะมาศ เจริญชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันมีผู้ที่เกิดโรคต่างๆ จากจุลินทรีย์ Staphylococcus aureus ที่พบได้ในโพรงจมูกและผิวหนัง เป็นจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคทางผิวหนัง เป็นจํานวนมาก บางชนิดมีการดื้อยา ซึ่งปัจจุบันมักจะใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อเหล่านี้ แต่ผู้ที่กินยาปฏิชีวนะบ่อย ๆ จะทำให้เชื้อโรค
“คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์” มีการระบาดภายในลำไส้มากขึ้น อันเนื่องมาจากไม่มีโปรไบโอติกคอยควบคุมไม่ให้เกิดการระบาด เมื่อเชื้อเกิดการระบาดมากขึ้น อาการท้องร่วงจึงเกิดขึ้นตามมา และเป็นสาเหตุให้อาการ
ทรุหนักลงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
สมุนไพรที่นำมาใช้ ได้แก่ ฝาง เปลือกมังคุด ว่านนางคำ ฝางจัดอยู่ในวงศ์ Caesalpiniaecaea มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappanLinn. มีองค์ประกอบของ Tannin และ Brazilin ที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย จากการศึกษางานวิจัยพบว่า สารสกัดจากแก่นฝางมีฤทธิ์ยับยั้งการ เจริญของแบคทีเรีย S. aureus โดยบริเวณยับยั้ง (inhibition zone) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 21.00±1.73 มิลลิเมตร (จันทนา กาญจน์กมล, 2563) สารสกัดจากเปลือกมังคุดมีสารออกฤทธิ์คือ แซนโทน (Xanthones) มีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ (นุศวดี พจนานุกิจ และสมใจ ขจรชีพพันธุ์งาม, 2553) ว่านนางคํามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma aromaticaSalisb. เป็นพืชในวงศ์ Zingiberaceae ประกอบด้วย เคอร์คิวมินอยด์(curcuminoids) ที่สามารถยับยั้ง MRSA โดยมีค่า minimal inhibitory concentration (MIC) เท่ากับ 25.60มิลลิกรัม/มิลลิลิตร (พรพรรณ สิระมนต์ และรัตติยา แววนุกูล, 2564) ข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการนำไปใช้พัฒนาวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพยาปฏิชีวนะที่ยับยั้งแบคทีเรียต่อไป