การศึกษาประสิทธิภาพของถ่านและเปลือกไข่ในการป้องกันหอยทาก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐวุฒิ มิ่งอ่อน, วีรภัทร โกกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุดคนึง คุ้มเกตุ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในการทำเกษตรนั้นการควบคุมปริมาณและการกำจัดศัตรูพืชหรือการป้องกันศัตรูพืชเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างนึง เนื่องจากศัตรูพืชนั้นเป็นปัญหาในการเพาะปลูกเพราะจะทำให้ผลผลิตและพืชที่ปลูกเสียหายทำให้ไม่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเท่าที่ควร ซึ่งศัตรูพืชที่ว่านั้นก็คือ หอยทาก ซึ่งหอยทากนั้นกินใบพืชใบผักใบหญ้าเป็นอาหารหลัก ทำให้พืชที่เราปลูกนั้นเสียหาย ในการกำจัดหอยทากนั้นสามารถกำจัดได้หลายทาง แต่หากใช้สารเคมีนั้นจะก่อให้เกิดผลเสียต่างๆกับระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในการเกษตรนั้นๆ ซึ่งเป็นมลพิษต่อธรรมชาติอีกทั้งยังก่อให้เกิดสารตกค้างในผลผลิตของเรา ในการเกิดสารตกค้างนั้นจะให้ผลผลิตของเราด้อยค่าลงไปทำให้ราคาของผลผลิตนั้นลดลง รายได้ในการเกษตรก็ลดลงอีกทั้งยังต้องเสียเงินให้กับสารเคมีซึ่งมีราคาแพงด้วย แต่ยังมีอีกทางนึงสำหรับการกำจัดหอยทากคือการใช้สิ่งที่มีรอบตัวเรา เช่น เกลือ กระเทียม ขี้เถ้า ถ่านหุงต้ม เปลือกไข่ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาของนายวิรัชญา จารุจารีตกองบรรณาธิการฝ่ายพรรณไม้และการเกษตร พบว่าถ่านบดและเปลือกไข่บดสามารถป้องกันการโจมตีต้นไม้หรือพืชผักจากหอยทากได้(วิรัชญา จารุจารีต,2561)

ดั้งนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นประโยชน์ของสิ่งเหล่านี้ จนนำไปสู่การทำโครงงานในการศึกษาประสิทธิภาพของถ่านและเปลือกไข่ในการป้องกันหอยทาก และศึกษาอัตราส่วนผสมของเปลือกไข่บดและถ่านบดที่มีผลต่อการป้องกันหอยทากได้ดีที่สุด